ปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในเด็กวัยเรียนตอนปลาย
Abstract
การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรม
เสี่ยงทางสุขภาพในเด็กวัยเรียนตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียน กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมปีที่ 4-6 และผู้ปกครองจำนวน 95 ราย ในโรงเรียนเขตอำเภอเมืองชลบุรี เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ให้นักเรียนตอบเอง คือ แบบสอบถามรูปแบบการเลี้ยงดูของบิดามารดา การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ และแบบสอบถามพื้นอารมณ์เด็กวัยเรียนให้ผู้ปกครองตอบ ผลการวิจัยพบว่า พื้นอารมณ์แบบการติดตามงาน เพศ (ชาย) และการสนับสนุนทางสังคม เป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดตามลำดับ และสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในเด็กวัยเรียนตอนปลายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 29.1 (F3, 91 = 12.447, p < .001) พยาบาลหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และการติดตามงานโดยเน้นในกลุ่มเด็กชาย เพื่อให้พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในเด็กวัยเรียนตอนปลายลดลงได้
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.