การศึกษาประสิทธิภาพและต้นทุนในการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรดและเอนไซม์

ณัฐพงษ์ ดิฐกุลชัยมงคล

Abstract


                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการย่อยกากมันสำปะหลังความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ด้วยกรดและเอนไซม์เพื่อเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคส การศึกษาแบ่งเป็นการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 0 – 3.0 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 60, 100 และ 120 องศาเซลเซียส และการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส กลูโคอะไมเลส และเซลลูเลส ผลการทดลองพบว่า สามารถย่อยกากมันสำปะหลังเป็นน้ำตาลกลูโคสได้ 79.17 กรัมต่อลิตร โดยการใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้น 0.4 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที และการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส กลูโคอะไมเลส และเซลลูเลส ตามลำดับ สามารถผลิตน้ำตาลกลูโคสได้เท่ากับ 82.37 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าน้ำตาลกลูโคสที่ได้การย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรด อย่างไรก็ตามพบว่าต้นทุนและความสิ้นเปลืองพลังงานในการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรดต่ำกว่าการย่อยด้วยเอนไซม์ถึง 16.46 และ 56.4 เท่า ตามลำดับ ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการในการผลิตน้ำตาลกลูโคสจากการย่อยกากมันสำปะหลังต่อไป


Keywords


กากมันสำปะหลัง; น้ำตาลกลูโคส; การย่อยด้วยเอนไซม์; การย่อยด้วยกรด

Full Text:

PDF

References


สวลี ดีประเสริฐ, ศุภชัย บุญนำมา, วิทยา บุตรทองมูล, บุปผา ชินเชิดวงศ์ และวีระ โลหะ. (2555). การใช้ ประโยชน์จากกากมันสำปะหลังเพื่อผลิตเป็นน้ำตาล. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 15(3), 39-46.

สิริวรรณ แก้วชิงดวง. (2554). การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากกากมันสำปะหลัง โดยการ บำบัดขั้นต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เปี่ยมสุข พงษ์สวัสดิ์. (2551). เอนไซม์ดัดแปรคาร์โบไฮเดรตในอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chotineeranat, S., Pradistsuwana, C., Siritheerasas, P., Tantratian, S. (2004). Reducing sugar production from cassava pulp using enzymes and ultrafiltration I: enzymatic hydrolyzation. The Journal of Scientific Research Chulalongkorn University. 29(2), 119-128.

Domingues, C. M., Peralta, R. M. (1993). Production of amylase by soil fungi and partial biochemical characterization of amylase of selected strain (Aspergillus fumigates Fresennius). Canadain Journal of Microbiology. 39, 681-685.

El-Sharkawy, M. A., (2004). Cassava biology and physiology. Plant Mol. Biol. 56, 481–501.

Euis, H., Jun, i. A., Djumali, M., Titi, C. S., Ono, S., Bambang, P. (2011). Hydrolysis of carbohydrates in cassava pulp and tapioca flour under microwave. Indo. J. Chem. 11, 238–245.

Pandey, A., Soccol, C. R., Nigam, P., Soccol, V. T., Vanderberghe, L. P. S., Mohan, R. (2000). Biotechnological potential of agro-industrial residue. II: cassava bagasse. Bioresour. Technol. 74, 81–87.

Rattanachomsri, U., Tanapongpipat, S., Eurwilaichitr, L., Champreda, V. (2009). Simultaneous non- thermal saccharification of cassava pulp by multienzyme activity and ethanol fermentation by Candida tropicalis. Journal of Bioscience and Bioengineering. 170(5), 488-493.

Siriporn, C., Yuka, M., Wonnop, V., Kota, O., Gaku, S., Seung, H. L., Kazuhiko, I. (2012). Application of thermophilic enzymes and water jet system to cassava pulp. Bioresource Technology. 126, 87-91.

Sriroth, K., Chollakup, R., Chotineeranat, S., Piyachomkwan, K., & Christopher, G.O. (2000). Processing of cassava waste for improved biomass utilization. Bioresource Technology. 71, 63-69.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.