การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาจีนตำรับ Simo decoction ในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน(Functional dyspepsia, FD) และการศึกษาถึงผลของยาที่มีต่อระดับความเข้มข้นของ Substanc

เสาวลักษณ์ มีศิลป์

Abstract


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาจีนตำรับ Simo decoction ในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน (Functional dyspepsia, FD) และยังศึกษาถึงผลของยาที่มีต่อระดับความเข้มข้นของ Substance P (SP) และ Somatostatin (SS) ในซีรั่มเลือด เพื่อค้นหากลไกการรักษาของยาตำรับนี้ที่มีต่อ FD  และรวมถึงเพื่อเป็นการเพิ่มหลักฐานข้อมูลทางการแพทย์สนับสนุนการใช้ยาจีนในวงกว้างมากขึ้น; วิธีวิจัย: ใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำการทดลองเปรียบเทียบกับยาที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา FD ในปัจจุบัน (Domperidone (motilium) )โดยทำการสุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 90 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มทดลองรักษาด้วยยาตำรับ Simo decoction จำนวน 60 คนและ 2. กลุ่มควบคุม รักษาด้วยยา Domperidone (motilium) จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการรักษา 14 วัน หลังจากนั้นทำการประเมินผลด้านคุณภาพชีวิต (the napean dyspepsia index (NDI)) ด้านความปลอดภัยของยา ผลต่อ substance P และ somatostatinในซีรั่มเลือด แล้วสรุปผลการวิจัย; ผลการวิจัย: ผลการทดลองพบว่าการรักษาทั้งสองกลุ่ม สามารถรักษาอาการต่าง ๆ ของโรค FD และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P <0.05); Simo decoction สามารถรักษาอาการท้องผูกของผู้ป่วยได้ดีกว่า Motilium (P <0.01) และผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (P >0.05);    ผลการวิจัยของทั้งสองกลุ่มพบว่าสามารถเพิ่ม ระดับความเข้มข้นของ SP ลดความเข้มข้นของ SS และ Simo decoction มีผลในการลดความเข้มข้นของ SS ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.01); หลังการรักษาของทั้งสองกลุ่มไม่พบความเปลี่ยนแปลงผิดปรกติใด ๆ ของการตรวจนับเม็ดเลือด การตรวจการทำงานของตับและไต การตรวจปัสสาวะ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงจากการรักษาทั้งสองกลุ่ม; อภิปรายผลการวิจัย: Simo decoction เป็นยาที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน  กลไกการรักษาน่าจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการปรับระดับความเข้มข้นของ substance P และ somatostatinในซีรั่มเลือด


Keywords


อาการอาหารไม่ย่อยกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน; ซื่อหมอทัง; ฮอร์โมนระบบทางเดินอาหาร

Full Text:

PDF

References


Camilleri M, Dubois D, Coulie B, et al. (2005) Prevalence and socioeconomic impact of upper

gastrointestinal disorders in the United States: results of the US Upper Gastrointestinal Study[J]. ClinGastroenterolHepatol, 3: 543-552. [PubMed]

McNamara DA, Bukley M, O’Morian CA. (2000) Nonulcer dyspepsia. Current comcepts and

management[J]. GastroenterolClin North Am, 29(4):807-818. [PubMed]

McQuaid K. Dyspepsia. In:Feldman M, Friedman LS, Sleisenger MH. Sleisenger&Fordtrans

(2002) Gastrointestinal and Liver Disease: Pathophysiology, Diagnosis, Management. 7thrd[M]. Philadephia, Pa.: Saunders.102-103. [PubMed]

Tack J, Talley NJ, Camilleri M, et al. (2006) Functional Gastroduodenal disorders

[published correction appears in Gastroenterology 2006, 131(1):336] [J]. Gastroenterology, 130(5): 1466-1479. [PubMed]

Drosman DA, Corazziari E, Delvaux M, et al. (2010) Rome III: The Functional

Gastrointestinal Disorders. 3rd ed. Mclean, Va.: Degnon Associaties;15. http://theromefoundation. Org/assets/pdf/19 RomeIII apA 887-888.pdf.

陈少夫, 李宇权, 何凤云, 等. (1994)木香对胃酸分泌、胃排空及胃泌素、生长抑

素、胃动素水平的影响[J].中国中西医结合杂志, 14(7): 406-408.

曾琪, 李忠海, 袁列江, 等. (2006) 槟榔生物的研究现状及展望[J]. 食品与肌械,

(6): 158-161.

邹百仓. (2004)槟榔对胃肠激素的影响与其促胃肠运动的关系[J]. 中医药学刊,

(6): 1040-1041.

桂新, 王峥涛, 徐路珊, 等. (1999 )乌药的化学成分及药理作用[J]. 中国野生植

物资源, 18(3): 5-9.

官福兰, 王如俊, 王建华. (2002) 枳壳及辛弗林对小鼠胃排空、小肠推进功能的

影响[J]. 现代中西医结合杂志 , 11(11): 1001-1003.

陈其城, 蒋志, 陈志强. (2013)四磨汤及其活性物质对胃肠动力作用研究进展[C].

广东; 广东省中医院, 143-148.

Holtmann G, Siffert W, Haag S, et al.(2004) G-protein beta 3 subunit 825 CC genotype is

associated with unexplained (functional) dyspepsia. Gastroenterology, 126(4): 971-979. [PubMed]

Camilleri CE, Carlson PJ, Camilleri M, et al. (2006) A study of candidate genotypes

associated with dyspepsia in a U.S. community. Am J Gastroenterlogy, 101(3): 581-592. [PubMed]

Van Lelyyeld N, Line JT, Schipper M, et al. (2008) Candidate genotypes associated with

functional dyspepsia. Neurogastroenterology and Motility, 20(7): 767-773. [PubMed]

Tian XP1, Li Y, Liang FR, et al. (2009)Translation and validation of the Nepean

Dyspepsia Index for functional dyspepsia in China[J]. World J Gastroenterol, 15(25): 7-3173. [PubMed]

Kuramoto H, Oomori Y, Mu rabayashi H, et al. (2004) Localization of neurokinin

receptor(NKIR)immunoreactivity in rat esophadus[J]. J Comp Neorol, 478(1): 11-22.

Harrison S, Geppetti P. (2001)Substance P[J]. The International Journal of Biochemistry

& Cell Biology, 33(6): 76-555.

Kaneko H1, Mitsuma T, Fujii S. (1993) Immunoreactive-somatostatin concentrations of

the human stomach and mood state in patients with functional dyspepsia: a preliminary case-control study[J]. Gastroenterol Hepatol, 8 (4): 7-322. [PubMed]

Jonsson BH1, Uvnäs-Moberg K, Theorell T, et al. (1998) Gastrin, cholecystokinin, and

somatostatin in a laboratory experiment of patients with functional dyspepsia[J]. Psychosom Med, 60 (3): 7-331. [PubMed]


Refbacks

  • There are currently no refbacks.