การศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทผลิตภัณฑ์พลาสติก เขตจังหวัดสมุทรปราการ

สุรดา ลัดลอย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน (2) ศึกษาระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความปลอดภัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน (4) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ด้านความปลอดภัยก่อนและหลังการจัดโปรมแกรมปรับปรุงและพัฒนาการรับรู้ของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท มาลาพลาส จำกัด จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาความสัมพันธ์ทางสถิติ ด้วยค่า ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน มีบางข้อที่อยู่ในระดับคะแนนปานกลาง คือ ข้อ 3.8 ท่านรู้ว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานใดที่อาจทำให้ท่านเกิดอันตรายได้ขณะทำงาน (2) ระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน มีบางข้ออยู่ในระดับคะแนนปานกลาง คือ ข้อ 2.9 ท่านสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เมื่อต้องทำงานเสี่ยงต่าง ๆ และข้อ 2.10 เมื่อท่านต้องสัมผัสงานร้อนๆ มีการสวมใส่ถุงมือหนังเพื่อกันร้อน (3) การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานในแต่ละด้านของพนักงาน พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 (4) เปรียบเทียบการรับรู้ด้านความปลอดภัยก่อนและหลังการจัดโปรมแกรมปรับปรุงและพัฒนาการรับรู้ พบว่าระดับคะแนนสูงขึ้น โดยผู้วิจัยได้นำหัวข้อในแบบสอบถามที่ได้ระดับคะแนนต่ำกว่าระดับคะแนนสูง โดยมีการจัดทำสื่อคู่มือความปลอดภัยในการทำงานเป็นภาษาที่พนักงานเข้าใจง่ายมีการเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการทำงาน 


Keywords


การรับรู้ความปลอดภัย; พฤติกรรมความปลอดภัย; บริษัทผลิตภัณฑ์พลาสติก

Full Text:

PDF

References


กันยา สุวรรณแสง. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. อักษรการพิมพ์: กรุงเทพมหานคร.

จักรพงศ์ เอกาพันธ์. (2551). การรับรู้การบริหารความปลอดภัยและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทเขามหาชัยพาราวู้ด จำกัด. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ณัฐกิตติ์ วัฒนพันธ์. (2549). การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงาน บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ตรัยศิลานันท์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การจัดการความปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดนครราชสีมา. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธีรโชติ ครัวจัตุรัส. (2552). การรับรู้ของพนักงานต่อระบบรักษาความปลอดภัยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารการจัดการสมัยใหม่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรนันท์ พุ่มหมอก. (2543). การรับรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของบุคลากรทีมสุขภาพโรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทยา อยู่สุข. (2544). อาชีวอนามัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิทิต กมลรัตน์. (2552). ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฟอสเฟต ดีวิชั่น). วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สมปอง เมฆมนต. (2555). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานและคนทำงานในเขตประกอบการบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน). บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุระ จันลา. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ระบบความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัย ของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

รัตนวรรณ ศรีทองเสถียร. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ระบบความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานประกันสังคม. (2557). สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานปี 2552-2556. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน, 2557, จาก http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/ accidentanalyze56.pdf.

อนุสรณ์ นิรุติธรรมธรา. (2549). การรับรู้ระบบความปลอดภัยและพฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัยในการทำงานของบริษัทในอุตสาหกรรมธุรกิจอุปกรณ์การเกษตร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.

Crowe, L. and W. James. (1995). Safety Values and Safety Practices among College Students. Journal of Safety Research. 87-195.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.