แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของบุคลากร สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากร สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ สำนักงาน และอายุการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือกลุ่มบุคลากรในสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน จำนวน 154 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่าง t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (oneway-ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe’s method)
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิเคราะห์ระดับปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บุคลากร สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 3 ด้าน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยได้ดังนี้ ด้านระบบเครือข่าย มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านซอฟต์แวร์ และด้านฮาร์ดแวร์ ส่วนที่เหลือมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านบุคลากร รองลงมาได้แก่ ด้านการบำรุงรักษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด ผลการวิเคราะห์ระดับความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของบุคลากร สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยได้ดังนี้ ด้านซอฟต์แวร์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านระบบเครือข่าย ด้านบุคลากร ด้านการบำรุงรักษา และด้านฮาร์ดแวร์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
สรุปผลสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากร สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ด้านระบบเครือข่าย ด้านบุคลากร และด้านการบำรุงรักษา โดยสัมภาษณ์จากผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง 1-14 ได้แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากร สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ทั้ง 5 ด้าน คือ ควรพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ จัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้งาน ปรับปรุงระบบเครือข่ายให้ครอบคลุม จัดฝึกอบรมให้กับบุคลากร ควรมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 เดือน
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กรมชลประทาน. (2556). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมชลประทาน (2557-2561). กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
ช่วงโชติ พันธุเวช. (2542). เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2553). เอกสารการสอน วิชา การจัดการเทคโนโลยี.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. (2555). โครงการในสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 2556, ตุลาคม 7 จาก http://kromchol.rid.go.th
Refbacks
- There are currently no refbacks.