รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน จังหวัดนนทบุรี

ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

Abstract


            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ทั้งหมด 100คน   ใช้เวลาในการศึกษา6 เดือน    เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสังเกต ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.88 คือแบบประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วยจิตเวช  ส่วนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ0.86 คือแบบสอบถามทัศนคติผู้ป่วยจิตเวชส่วนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ0.88 คือแบบประเมินการรับรู้ของชุมชนต่อโครงการและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ0.87 คือ แบบประเมินผลความพึงพอใจโครงการ     สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน     

ผลการศึกษาการวิจัย พบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยในชุมชน   มี 2 องค์ประกอบคือ การมี อาจารย์/พยาบาลวิชาชีพและนักศึกษาพยาบาลวิชาชีพให้การดูแลที่บ้าน  และเพื่อประเมินปัญหาและการจัดทำโครงการ ชีวีสดใสและรณรงค์ไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  การมีอาจารย์/พยาบาลวิชาชีพและนักศึกษาพยาบาลให้การดูแลที่บ้าน  มีผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมโครงการ 10 ครอบครัว  ผลการดำเนินงานในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วย 8 คน  มีการทำหน้าที่ทั่วไป  และสมรรถภาพทางจิตดีขึ้น  มีผู้ป่วย 2 คน ดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำมีอาการทางจิตต้องส่งรักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญาฯเนื่องจากสภาพแวดล้อมในชุมชนเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ  อันเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์  ข้อเสนอแนะ คือ รัฐบาลควรรับผิดชอบกำหนดนโยบายคุ้มครองให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา  โดยจัดให้มีทีมสหสาขาเช่น พยาบาลวิชาชีพ อาจารย์/นักศึกษาหรือให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยพยาบาลวิชาชีพ ควรได้รับค่าตอบแทนจากระบบประกันสุขภาพ  ในขณะเดียวกันมีมาตรการควบคุมการซื้อ-ขาย ดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนอย่างเคร่งครัด


Keywords


การมีส่วนร่วมของชุมชน; ผู้ป่วยจิตเวช; การเยี่ยมบ้าน

Full Text:

PDF

References


กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2555).รายงานประจำปี

กรองจิต วลัยศรี. (2551).รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2554).รายงานประจำปี. ชัยภูมิ: ชัยภูมิการพิมพ์.

ไกรวรรณ เจริญกุล.(2539) การจัดกลุ่มบำบัดประคับประคองและให้สุขศึกษาแก่ญาติ.วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา,4(3),167 - 169.

จันทราธีระสมบูรณ์ .(2543).การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน: การประชุมวิชาการประจำปี กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 8การปฎิรูประบบสาธารณสุข วันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2543.สงขลา:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.

จินตนา ลี้ละไกรวรรณ.(2542) .โรคจิตเภทคู่มือสำหรับครอบครัว.ขอนแก่น:ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

ชุลีวรรณ เพียรทอง.(2539).การให้การปรึกษาทางการพยาบาลแก่ญาติผู้ป่วยจิตเวช.รายงานการวิจัย.โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ฐิตวันต์ หงส์กิตติยานนท์ .(2551). รูปแบบการพึ่งตนเองของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน.รายงานการวิจัย.โรงพยาบาลชัยภูมิ.ชัยภูมิ.

ไพรวัลย์ ร่มซ้ายและคณะ (2544) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนแบบครบวงจรในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร.

วัชนีหัตถพนม.(2532).การดูแลผู้มีปัญหาทางจิตที่บ้าน.วารสารจิตเวชขอนแก่น ,3(10),595-600.

วัชนีหัตถพนม.(2535).การศึกษาเปรียบเทียบผลการให้ความรู้แก่ญาติผู้ป่วยโรคจิตแบบปกติและแบบประชุมสัมมนา.รายงานการวิจัย.ขอนแก่น.โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ . (2544).พยาบาลกับกระบวนการกลุ่ม.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 24 (1), 1-12.

สมภพ เรืองตระกูล.(2533).คู่มือจิตเวชศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 4 .กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เรือนแก้ว.

สมพร รุ่งเรืองกิจและคณะ(2547).รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน.ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และกฤตยา แสวงเจริญ. (2538).ความต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและเตรียมตัวรับผู้ป่วยของญาติเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต.9(1) :10-18.

สมจิต แดนสีแก้ว. (2548). การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดแก่สังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวดี ศรีวิเศษ และคณะ. (2538).ผลของการให้ความรู้แก่ญาติของผู้ป่วยจิตเภทกับญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยมารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น.ขอนแก่น:โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น.

Grero,B.&Worley,K.N. (2001).Community psychiatric nursing care .In M.T.Laraia& G.W.

Stuart (Eds.) Principles and practice of psychiatric nursing (seven edition) . pp(728-743 ). St.Louis: Mosby.

Mueser,K.T.,Bond,G.R.,Drake,R.E.,&Resnick,S.G(1998).Model of community care for severs mental illness : A review of research on case management .Schizophrenia Bulletin, 24 (1) ,37- 74.

Stringer.T.(1996).Action research :A handbook for practitioners.NewDelhi:Sage.

http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=169เข้าถึงวันที่ 3 เมษายน2557

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/28254เข้าถึงวันที่ 3 เมษายน2557


Refbacks

  • There are currently no refbacks.