ผลของการเตรียมความพร้อม 2 สัปดาห์ต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยา ขณะออกกำลังกายแบบแอโรบิกในสภาวะพร่องออกซิเจนที่ระดับความสูง 3,000 เมตร ในผู้มีน้ำหนักตัวเกิน

กิตติพัฒน์ กฤตผล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตอบสนองของอัตราการเต้นหัวใจ ความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร และงานขณะออกกำลังกายแบบแอโรบิกในสภาวะพร่องออกซิเจนที่ระดับความสูง 3,000 เมตร (O2 = 14.3 %) หลังการเตรียมความพร้อม 2 สัปดาห์ ในผู้มีน้ำหนักตัวเกิน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน19 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 1 (อายุ 19 ± 0.73ปี, น้ำหนัก 78.42 ± 12.52 กก. ส่วนสูง 165.33 ± 9.97 ซม. ดัชนีมวลกาย 28.57 ± 2.75 กก./ตร.ม. ไขมัน 33.60 ±4.48 เปอร์เซ็นต์) ฝึกวิ่งบนลู่กลในสภาวะปกติ 20 นาที หลังการฝึกแรงต้าน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 (อายุ 20 ± 0.9 ปี, น้ำหนัก 80.16 ± 14.13 กก. ส่วนสูง 168.73 ± 8.60 ซม. ดัชนีมวลกาย 28.08 ± 3.94 กก./ตร.ม. ไขมัน 32.59 ± 6.33 เปอร์เซ็นต์) ฝึกวิ่งบนลู่กลในสภาวะพร่องออกซิเจนที่ระดับความสูง 2,000 เมตร (O2 = 16.3 %) 20 นาที หลังการฝึกแรงต้าน ทั้ง 2 กลุ่มจะฝึกวิ่งบนลู่กลที่ความหนัก 60-65% HRR และฝึกน้ำหนักที่12-15 RM เมื่อครบ 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทำการวิ่งบนลู่กล 20 นาที (60-65% HRR) ในสภาวะพร่องออกซิเจนที่ระดับความสูง 3,000 เมตร พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ 1 และ 2 มีอัตราการเต้นหัวใจ (141.28 ± 7.83 vs 141.99 ± 13.99 ครั้งต่อนาที; p>0.05) ความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกบิลจากชีพจร (80.59 ± 1.88 vs 81.12 ±1.48%; p>0.05) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามจะพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ 1 มีแนวโน้มของงานขณะวิ่งบนลู่กลมากกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ 2 (11.65±0.34 vs 10.86 ± 0.34 จูล; p>0.05)

จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการเตรียมพร้อม 2 สัปดาห์ก่อนการออกกำลังกายแบบแอโรบิกในสภาวะพร่องออกซิเจนที่ระดับความสูง 3,000 เมตร สามารถใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในสองรูปแบบ แต่กลุ่มตัวอย่างที่ 2 มีงานขณะออกกำลังกายแบบแอโรบิกน้อยกว่า ซึ่งเป็นผลดีต่อการลดแรงกระทำต่อข้อต่อ ซึ่งป้องกันการบาดเจ็บสำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวเกินได้


Keywords


แอโรบิก; แรงต้าน; สภาวะพร่องออกซิเจน

Full Text:

PDF

References


ถาวร มาต้น. 2553. โรคอ้วน: ภัยคุกคามสุขภาพคนไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 40, 356-364.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสริมสุขภาพ และ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2557). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง. สุขภาพคนไทย. 1-11.

นฤมล ลีลายุวัฒน์. (2553). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย (พิมพ์ครั้งที่ 1) โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เสาวลักษณ์ สุนราลักษณ์. 2551. การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับแรงต้าน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

David, A.T. and J.M. Stager. 1998. Partitioned weight loss and body composition changes during a mountaineering expedition: a field study. Wilderness and Environmental Medicine. 9, 143-152.

Goto, K., N. Ishii, S. Sugihara, T. Yoshioka and K. Takamatsu. 2007. Effects of resistance exercise on lipolysis during subsequent submaximal exercise. Medicine and Science in Sports and Exercise 39, 308–315.

Hoppeler, H. and M. Vogt. 2001. Muscle tissue adaptations to hypoxia. Journal of Experimental Biology. 204, 3133-3139.

Kang, J., S.L. Rashti, C.P. Tranchina, N.A. Ratamess, A.D. Faigenbaum and J.R. Hoffman. 2009. Effect of preceding resistance exercise on metabolism during subsequent aerobic session. Journal of Applied Physiology. 107, 43-50.

Kenney, W.L., J. Vilmore and D. Costill. (2012). Exercise at Attitude. In Kenney, W.L., J. Vilmore and D. Costill. (Eds.), Physiology of sport exercise with web study guide (5th ed.). (pp. 309-332). Courier companies, Inc. USA.

Kirk, E.P., J.E. Donnelly, B.K. Smith, J. Honas, J.D. LeCheminant, B.W. Bailey, D.J. Jacobsen and R.A. Washburn. 2009. Minimal Resistance Training Improves Daily Energy Expenditure and Fat Oxidation. Medicine and Science in Sports and Exercise. 41, 1122-1129.

Nikolaus, N.C., R. Chytra and T. Kupper . 2008. Low intens physical exercise in normobaric hypoxia leads to more weight loss in obese people than low intense physical exercise in normobaraic sham hypoxia. Sleep Breath Journal. 12, 129-134.

Ormsbee, M.J., J.P. Thyfault, E.A. Johnson, R.M. Kraus, M.D. Choi and R.C. Hickner. 2007. Fat Metabolism and Acute Resistance Exercise in Trained Men. Journal of Applied Physiology. 102, 1767-1772.

Park, S.K., J.H. Park, Y.C. Kwon, H.S. Kim, M.S. Yoon and H.T. Park. 2003. The effect of combined aerobic and resistance exercise training on abdominal fat in obese middle-aged women. Journal of Physiological Anthropology and Applied Human Science. 22, 129-135.

Power, S.K. (1950). Exercise physiology. In S.powers and E.Howley (Eds.), Theory and application to fitness and performance. (pp 110-111). ICC Macmillan Inc.

Vanhelder, W.P., M.W. Radomski and R.C. Goode. 1984. Growth hormone responses during intermittent weight lifting exercise in men. European Journal of Applied Physiology. 53, 31–34.

Wiesner, S., S. Haufe, S. Engeli, H. Mutschle, U. Haas, F.C. Luft and J. Jordan. 2009 Influences of normobaric hypoxia training on physical fitness and metabolic risk markers in overweight obese subjects nature publishing group advance online publication. Intervention and Prevention. 18, 116-120.

Wilber, R.L. 2011. Application of altitude/hypoxic training by elite athletes. Journal of Human Sport and Exercise. 6, 1-14.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.