การพัฒนาการผลิตยางพาราแผ่นด้วยการลดฟองอากาศในกระบวนการกวนส่วนผสม

ชมพูนุช สนั่นไหว

Abstract


การศึกษานี้มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพยางพาราแผ่นด้วยการลดฟองอากาศในกระบวนการกวนส่วนผสมและการขึ้นรูปแผ่นยางดิบ เป็นการผสมผสานการกวนส่วนผสมกรดฟอร์มิคเจือจางกับน้ำยางภายใต้สภาวะสุญญากาศ สภาวะในการผลิตถูกออกแบบให้มีการควบคุมปัจจัยดังนี้ ความเข้มข้นกรดฟอร์มิค 2.0 % ความเร็วในการกวนผสม 7,250 รอบต่อนาที ระยะเวลาการกวนผสม 5 10 และ 15 วินาที ความดัน 100 200 300 และ 400 mbar และระยะเวลาภายใต้สภาวะความดัน 30 60 และ 120 วินาที พบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่สุดคือระยะเวลาการกวนผสม 10 วินาที ความดัน 400 mbar และระยะเวลาภายใต้สภาวะความดัน 120 วินาที และผลการทดสอบและประเมินคุณภาพยางพาราแผ่นพบว่า ความชื้นอยู่ในช่วง 0.06 – 0.75 %  และที่ความดัน 300 และ 400 mbar ฟองอากาศในยางพาราแผ่นแทบไม่ตรวจพบ ตัวอย่างยางพาราแผ่นจัดอยู่ในชั้น3 ของระดับชั้นคุณภาพยางพาราแผ่นรมควัน

Keywords


การเกิดฟองอากาศ; ยางธรรมชาติ; ยางพาราแผ่น

Full Text:

PDF

References


การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตยางแผ่นรมควัน. (2557). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป. หน้า 17.

ประสิทธิ์ชัยอัครบวรกุล และวีระพงศ์มาลัย. (2553). ความสำเร็จด้านคุณภาพในการผลิตยางแผ่นดิบของ ชาวสวนยางพาราในจังหวัดระยอง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับ ผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทศพล บุญเลิศอุทัยและอนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์.(2556). การศึกษาปัญหาของกาวอิพอกซีต่อ กระบวนการผลิตหัวอ่าน-เขียนสำเร็จ. วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยยาง. (2555). ข้อมูลวิชาการยางพารา 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

ประเทศไทย จำกัด.

สถาบันวิจัยยาง. (2556). การจัดการสวยยางอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

ประเทศไทย จำกัด.

อาทิตย์ วุฒิคะโร. (2557). กสอ.รุก 4 ยุทธศาสตร์ รั้งเบอร์ 1 ส่งออกยางพาราโลก. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 22, 2558, จาก http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000129279.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.