ปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ ในเด็กวัยก่อนเรียน
Abstract
การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตรวัยก่อนเรียน จำนวน 86 ราย คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 –มกราคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถตนเองการรับรู้เกี่ยวกับโรคการสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน(r = .727, r = 650,r = .615,และ r = .465, p < .001 ตามลำดับ)การรับรู้ความสามารถตนเองเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 52.9(B = .461, t = 4.884, p< .001) รองลงมาคือการได้รับข้อมูลข่าวสารสามารถทำนายได้ร้อยละ 4.7(B = .2.51, t = 2.774, p< .01)และการรับรู้เกี่ยวกับโรคสามารถทำนายได้ร้อยละ 2.8 (B = .183,t = 2.401, p< .05) ซึ่งทั้ง3 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนได้ ร้อยละ 60.4 (F3, 82 = 41.680, p< .001)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การรับรู้ความสามารถตนเองการได้รับข้อมูลข่าวสาร และการรับรู้เกี่ยวกับโรคมีความสำคัญและส่งผลต่อพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพจึงควรส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดาการรับรู้เกี่ยวกับโรคและการให้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอเพื่อให้มารดามีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กรมควบคุมโรค.(2554). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก.(พิมพ์ครั้งที่ 2).
นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมโรค.(2556). สถานการณ์โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ.สืบค้นเมื่อ มีนาคม 6, 2557,
จาก http://www.boe.moph.go.th/report.php?cat=86
ชญาน์นันท์ ใจดีและคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ
เฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(3),
-403.
ปวริศา ตั้งไพบูลย์. (2551). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรสมองพิการ.ปริญญา
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเด็ก โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐวัส ประสมนาค.(2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค
ติด เชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก 0-5 ปี ของผู้ดูแลเด็ก ในเขตรับผิดชอบของสถานี
อนามัยนางาม ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. สืบค้นเมื่อ เมษายน 3, 2557, จาก http://team.sko.moph.go.th
ประกาย จิโรจน์กุล. (2556). แนวคิด ทฤษฎี การสร้างเสริมสุขภาพและการนำมาใช้. กรุงเทพฯ:
โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนก.
ศิริธิดา ศรีพิทักษ์. (2549). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงของ
ทารก. ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเด็ก โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุกัญญา สร้างนอก. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรวัยก่อนเรียนที่
ป่วยเป็นโรคหอบหืด. ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุจรรยา ทั่งทอง.(2541).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและดูแลบุตรขณะเจ็บป่วย
ด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กของมารดาในชนบท. ปริญญา พยาบาล
ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลชุมชนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรพงษ์ เหลืองวุฒิวงษ์.(2547). พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจของ
ผู้ดูแลเด็กป่วยที่มีอายุ 0-5 ปี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขมหาวิทยาลัยมหิดล.
หทัยชนก บัวเจริญ. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ
ในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 24(3), 23-24.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.
Bland, A,D., Kegler, M. C. Escoffery. C., &Malcoe, L.H. (2005). Understanding childhood lead
poisioning preventive behavior: The roles of self-efficacy, subjective norms, and
perceived benefits. Preventive Medicine, 41, 70-78.
Burns, C. E., Dunn, A. M., Brady, M. A., & Starr, N. B. (2013). Pediatric primary care (5thed).
Philadelphia: Elsevier.
Green, L.W., &Kreuter, M.W. (2005). Health program planning: An educational and ecological
approach (4thed). New York: McGraw-Hill Higher Education.
Green, L.W., & Mercer, S. L. (2002).Precede-Proceed Model. Retrieved March 3, 2013, from
http://www. healthline.com/galecontent/precede-proceed-model#precede-proceedmodel.
McElveen, P. M. (1989). Clinical practice in psychological nursing: Assessment and
intervention. New York: Appleton-Cenury-Crofts.
Strecher, V. J., &Rosenstock, I. M. (1997). The health belief model, In A. Baum, S. Newman,
J. Weinman, R. West, & C. McManus (Eds.), Cambridge Handbook of Psychology,
Health and Medicine (pp.113-116). Cambridge: Cambridge University Press.
Wilmott, R., Boat, T., Bush, A., Chernick, V., Deterding, R., &Ratjen, F. (2012). Kendig
andChernick’s Disorders of the Respiratory Tract in Children (8thed). Philadelphia:
Elsevier Health Sciences.
Refbacks
- There are currently no refbacks.