แนวทางของการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อพัฒนาสู่โรงพยาบาลสีเขียว

ธิดารัตน์ ชูชื่น

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล และประเมินศักยภาพของปัจจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลในการนำไปสู่การเป็นโรงพยาบาลสีเขียว โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้พลังงาน (ไฟฟ้า น้ำประปา และน้ำมันเชื้อเพลิง) และข้อมูลการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สำหรับการประหยัดพลังงานในโรงพยาบาล รวมทั้งการตรวจวัดวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของแสงสว่าง เสียง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดแบบพกพา จากผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2554 โรงพยาบาลมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ 2552 ร้อยละ 21.35 และจากการดำเนินงานด้านการประหยัดพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปีงบประมาณ 2555 - 2557 มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงร้อยละ 17.03 (2) ด้านการใช้น้ำประปา ปีงบประมาณ 2553 โรงพยาบาลมีการใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2552 ร้อยละ 10.90 เนื่องจากการปรับปรุงต่อเติม และก่อสร้างหน่วยงาน และอาจมีจุดรั่วไหลของน้ำประปา  หลังจากนั้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555-2557    การใช้น้ำประปาของโรงพยาบาลมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 15.89 (3) ด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปีงบประมาณ 2552 - 2557 โรงพยาบาลมีแนวโน้มการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงคงที่  และในปีงบประมาณ 2557 ลดน้อยลงจากปีงบประมาณ 2556 ร้อยละ 20.98 และ  (4) การตรวจวัดวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ โดยทำการตรวจวัดแสงสว่าง อุณหภูมิ ความชื้นและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวน 55 หน่วยงาน ตรวจวัดทั้งหมด 174 จุด พบว่า การตรวจวัดแสงสว่าง มีจำนวนหน่วยงานและจำนวนจุดตรวจวัดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแสงสว่างของการทำงานในการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล รองลงมาคือปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความชื้นสัมพัทธ์ สำหรับการตรวจวัดอุณหภูมิและวัดระดับเสียงผ่านเกณฑ์มาตรฐานครบทุกหน่วยงาน สรุปผลการศึกษาโรงพยาบาลดังกล่าวน่าจะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโรงพยาบาลสีเขียว เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานและคำนึงถึงการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลที่จะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน

Keywords


พลังงาน; สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ; โรงพยาบาลสีเขียว

Full Text:

PDF

References


กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2554). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2555, สิงหาคม 15). ส่งเกณฑ์ประเมินโรงพยาบาลสีเขียว (Green Hospital Criteria: GHC). กส 0027.006/ว.9560.

จิโรจน์ สูรพันธุ์. (2550). โรคภัยจากการอยู่ในอาคาร (Sick Building Syndrome). (จุลสาร).กรุงเทพฯ: วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. (2554). ต้นแบบโรงพยาบาลสีเขียว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 28(1), 5-15.

ปุริม ประจันตะเสน. (2553). การศึกษาค่าการใช้พลังงานจำเพาะในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัpศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพิดา จรรยารักษ์สกุล. (2554). ทำไมต้องเป็นอาคารเขียว (Why Green Building?). สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 6, 2556, จาก http://teamgroup.co.th/images/stories/news/april11/news-why-green-building.pdf .

มณฑิรา ศรีสงคราม และคณะ. (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดลดพลังงานไฟฟ้า โรงพยาบาลหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ. (หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555). 2, 57-65.

ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล และคณะ.(2556). การจัดการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยอย่างยั่งยืน ในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษาโรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 19(1), 42-56.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.