ข้าวเกรียบจากแป้งผสมชะครามแห้ง

สกุลตรา ค้ำชู

Abstract


ผู้วิจัยทดลองผลิต ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแป้งผสมชะครามแห้ง วัตถุประสงค์เพื่อทดลองผลิตและทดสอบความพึ่งพอใจ ข้าวเกรียบจากแป้งผสมชะครามอบแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นและการแปรรูปชะครามในเชิงพาณิชย์  ข้าวเกรียบเป็นอาหารว่างที่คนไทยนิยมรับประทาน และยังใช้เป็นอาหารแกล้มกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  การทดลองใช้ชะครามอบแห้งบดผสมลงในแป้งที่เป็นส่วนผสมหลัก ในอัตราส่วน 3 ระดับ 2.5%, 5% และ 7.5% ตามลำดับ ต่ออัตราการใช้ส่วนผสมในระดับเท่ากัน คือ แป้งมันสำปะหลัง 100 % น้ำตาลทราย 10% กระเทียมสับ 3 %  เกลือป่น 3 % พริกไทยป่น 1 %  พบว่า ข้าวเกรียบมีคะแนนความชอบลักษณะ ด้วยการชิม  ด้านสี ความกรอบ กลิ่นแป้ง รสหวาน รสเค็ม และกลิ่นรสชะคราม และคะแนนความชอบรวม จากผู้ทดสอบจำนวน 30 คน มีค่ามากกว่า 7  อัตราส่วน ระดับ 5% ข้อคิดเห็นของผู้ทดสอบ พบว่า มีความพองตัวน้อย มีความหนาแน่นมาก ลักษณะและรสชาติคล้ายข้าวเกรียบผสมสาหร่าย 


Keywords


ข้าวเกรียบ; ชะคราม; การแปรรูปในเชิงพาณิชย์

Full Text:

PDF

References


นภาพร แก้วดวงดี. (2556). ชะคราม วัชพืชสมุนไพรต้านอนุมูลอิสระในป่าชายเลน. สืบค้นเมื่อกรกฎาคม 17,2556, จาก http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/herb/26.html

พิมพ์เพ็ญ และนิธิยา. (2558).ข้าวเกรียบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน / มผช..สืบค้นเมื่อ มกราคม 7, 2558.

พิมพ์เพ็ญ และนิธิยา. (2558). Fish cracker / ข้าวเกรียบปลา. สืบค้นเมื่อ มกราคม 7,2558,

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2549) .สมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคใต้. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์. http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/herb/26.html

อัมพรศรี พรพิทักษ์ดำรงและคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบชะครามพร้อมประกอบอาหาร จังหวัดสมุทรสงคราม. การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำปี 2556 ครั้งที่ 3 หัวข้อ “ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” 9-12 พฤษภาคม 2556. จังหวัดขอนแก่น: ประเทศไทย

Jithesh, M.N., Proshonth, B.R., Sivaprokash, K.R., and Parida, A.K. (2006). Oxidative response

mechanism in halophyte: their role in stress defense. J. Gent. 85(3): 237-254.

Seo, Y., Lee, H.J., Kim, Y.A., Youn, H.J., and Lee, B.J. (2005). Effect of several salt marsh plants on mouse spleen and thymus cell proliferation using MTT assay.Ocen. Sci. J. 40(4):209-212.

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร-เกษตรแปรรูป เขียนโดย pongitsara, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์2,2558.จาก http://50010814105.blogspot.com/2011/01/3-order-3-shelf-life-fast-food.html

ชะครามอร่อยแบบบ้านๆ สืบค้นเมื่อกุมภาพันธ์2,2558 ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์, จาก http://dmcr2014.dmcr.go.th/detail.php?WP=qQMcZKuCpWOghKstGTEgWzqmqUqcoauCpWOghKstGREgFJqeqPMcBUt0pQIgZaqCGWOghJstqREcFKuw

ชะครามหรือต้นสาคราม รสชาติเร้นลับจากผักพื้นบ้านของชาวเล, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์7,2558.จาก http://healthmeplease.com/suaeda-maritima.html

ศูนย์ธุรกิจอุตสากรรม (BOC) ชั้น 2 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์9,2558.จาก http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps107_46.pdf


Refbacks

  • There are currently no refbacks.