ขนมกุยช่ายและขนมข้าวเกรียบปากหม้อ จากชะครามอบแห้ง

กัญญาพัชร เพชราภรณ์

Abstract


          ชะคราม (Suaedamaritima) เป็นผักพื้นบ้าน พบได้ในป่าชายเลนและเจริญเติบโตได้ดีในดินเค็มและทนต่อความเค็มโดยทั่วไปนั้นชะครามสด มักจะถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหารเช่นนำมาเป็นส่วนประกอบของแกง ยำ รับประทานจิ้มกับน้ำพริก เป็นเครื่องเคียง แต่เนื่องด้วยชะครามสดไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ผู้วิจัยเห็นว่าจะเป็นการดีไม่น้อยถ้าสามารถยืดอายุการเก็บของชะครามโดยการอบแห้ง แล้วสามารถนำชะครามอบแห้งนั้นมาใช้ประกอบอาหารต่อไปได้ โดยเป็นการถนอมอาหารและยังเป็นการพัฒนารูปแบบการยืดอายุของชะครามได้อีกรูปแบบหนึ่งด้วย โดยผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาอาหารว่างที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทาน จากการใช้ชะครามอบแห้งในที่นี้คือขนมกุยช่ายและขนมข้าวเกรียบปากหม้อจากแต่เดิมผักกุยช่ายนั้นเป็นผักที่มีกลิ่นฉุน อีกทั้งในเทศกาลของการรับประทานเจนั้น ผู้บริโภคก็ไม่สามารถรับประทานขนมกุยช่ายได้แม้ว่าขนมกุยช่ายนั้นจะไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ก็ตามส่วนขนมข้าวเกรียบปากหม้อนั้น ก็เป็นอาหารว่างที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน มีหลากหลายไส้ด้วยกัน อาทิไส้หมู ไส้ไก่ โดยเป็นไส้ที่มีส่วนประกอบหลักจากเนื้อสัตว์ ผู้วิจัยเห็นว่าจะเป็นการดีไม่น้อยถ้ามีการพัฒนาไส้ของขนมข้าวเกรียบปากหม้อให้มีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น ทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาข้าวเกรียบปากหม้อไส้ใหม่ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย


Keywords


ขนมกุยช่าย; ขนมข้าวเกรียบปากหม้อ; ชะคราม

Full Text:

PDF

References


นภาพร แก้วดวงดี. (2556). ชะคราม วัชพืชสมุนไพรต้านอนุมูลอิสระในป่าชายเลน. สืบค้นเมื่อกรกฎาคม 17,2556, จาก http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/herb/26.html

อัมพรศรี พรพิทักษ์ดำรงและคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบชะครามพร้อมประกอบอาหาร จังหวัดสมุทรสงคราม. การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำปี 2556 ครั้งที่ 3 หัวข้อ “ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” 9-12 พฤษภาคม 2556. จังหวัดขอนแก่น: ประเทศไทย

Jithesh, M.N., Proshonth, B.R., Sivaprokash, K.R., and Parida, A.K. (2006). Oxidative response mechanism in halophyte: their role in stress defense. J. Gent. 85(3): 237-254.

Seo, Y., Lee, H.J., Kim, Y.A., Youn, H.J., and Lee, B.J. (2005). Effect of several salt marsh plants on mouse spleen and thymus cell proliferation using MTT assay.Ocen. Sci. J. 40(4):209-212.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.