การเปลี่ยนแปลงมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนในช่วงปี พ.ศ. 2524- 2556 ในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน

เบญจวรรณ เจ้ยทองศรี

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมรสุมของชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนในปี พ.ศ. 2524- 2556 และศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพายุหมุนเขตร้อนของอ่าวไทยตอนบนในปี พ.ศ.  2524-2556 โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างพายุหมุนเขตร้อนกับความแรงของลมชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนว่ามีผลกระทบกับการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนมากน้อยเพียงใด พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนมีความยาวของชายฝั่งทั่งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่ติดต่อของพื้นที่ 5 จังหวัด ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาครและสมุทรสงคราม ศึกษาโดย      การวิเคราะห์ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาของข้อมูลพายุหมุนเขตร้อนจากสถิติเส้นทางการเคลื่อนที่ของพายุ      ในแต่ละช่วงเวลาที่พัดผ่านเข้าสู่ชายฝั่งอ่าวไทย และวิเคราะห์ข้อมูลมรสุมโดยโปรแกรม WRPLOT View และการหาค่าเฉลี่ยเพื่อนำมาพล็อตเป็นกราฟเปรียบเทียบช่วงเวลาที่มีมรสุมซึ่งข้อมูลที่ใช้จากสถานีตรวจวัดอากาศ 6 สถานี ดังนี้ 1. สถานีวัดอากาศนำร่อง จังหวัด สมุทรปราการ 2. สถานีวัดอากาศท่าเรือ คลองเตย  จ.กรุงเทพฯ 3. สถานีวัดอากาศบางนา จังหวัดกรุงเทพฯ 4. สถานีวัดอากาศเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี 5. สถานีวัดอากาศพัทยา จังหวัดชลบุรี 6. สถานีวัดอากาศหาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อได้ผลสรุปจากการวิเคราะห์ด้านอุตุนิยมวิทยา เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์กับข้อมูลภาพการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนจากสารสนเทศภูมิศาสตร์ภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์เสท 5 TM และสปอท ย้อนหลังในปี พ.ศ. 2495,2518,2538,2552  ว่าส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งในอ่าวไทยตอนบนว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในกระบวนการทางธรรมชาติในการกัดเซาะชายฝั่ง

                ผลการศึกษาสถิติเส้นทางพายุหมุนเขตร้อนในชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนในปี พ.ศ.2524-2556 พบว่า ในช่วงนี้มีพายุหมุนเขตร้อนมีจำนวน 5 ลูก ที่พัดเข้าสู่อ่าวไทยตอนบน คือ 1.พายุเกย์ (Gay 8929) 2. พายุโซนร้อนฟอร์เรสต์  (FORREST 9229) 3.พายุไต้ฝุ่นลินดา (LINDA 9728) 4.ไต้ฝุ่นทุเรียน 2549 5.ไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า (Typhoon Muifa) ส่วนการวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงมรสุมของชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนทั้ง 6 สถานี -ในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ( NE) และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้(SW)พบว่า ในช่วงนี้ 33 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2524-2556 โดยภาพรวมพบว่าทิศทางในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ( NE) จะพัดมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (NE) และทิศตะวันออกเฉียงใต้ (SE) และความเร็วลมเฉลี่ย 3-10 นอต ซึ่งทำให้มีคลื่นลมแรงพัดเข้าชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนสูงขึ้นและในช่วง NE นี้มีพายุหมุนเขตร้อน พัดเข้ามาทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมากขึ้น และในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (SW) พบว่าทิศทางลมพัดเข้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้(SW) และทิศใต้ (S) และความเร็วลมเฉลี่ย 3-15 นอตซึ่งทำให้ลมพัดแรงเข้าชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน ส่วนความสัมพันธ์ของพายุหมุนเขตร้อนกับความแรงของลมชายฝั่งทะเลอ่าวไทยพบว่า ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนมีความแรงลมสูงขึ้นเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีพายุหมุนเขตร้อน

Keywords


มรสุม; พายุหมุนเขตร้อน; ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน

Full Text:

PDF

References


กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2548 รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาหาสาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและแนวทางแก้ไขป้องกันชายฝั่งทะเลที่ได้รับผลกระทบ บริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สถาบันวิจัย ทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาวัย 284 หน้า

กรมเจ้าท่า, 2535, รายงานการสำรวจออกแบบขั้นสุดท้าย การสำรวจออกแบบก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นร่องน้ำท่าศาลาจังหวัด นครศรีธรรมราช, เสนอโดยบริษัทเซ้าท์อิสเอเชียเทคโนโลยี

สิน สินสกุล และคณะ.2546. การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย กองธรณีวิทยากรมทรัพยากรธรณี 173 หน้า

สิน สินสกุล และคณะ.2546. การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี 60 หน้า

นวรัตน์ ไกรพานนท์. 2544 (ข) การกัดเซาะชายฝั่งทะเล: ปัญหาและแนวทางการจัดการ.วารสารอนุรักษ์ ดินและน้ำ 17(1): 23-55

ธนวัฒน์จารุพงษ์สกุล. 2553. โครงการ “การประเมินประสิทธิผลของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยโครงสร้างและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นท้องทะเลและแนวชายฝั่งในพื้นที่นาร่องบ้านขุน-สมุทรจีนบริเวณอ่าวไทยตอนบน”. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร.

ปราโมทย์ โศจิศุภร (2549) การศึกษาสมุทรศาสตร์ฟิสิกส์บริเวณอ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตก. ในการมีส่วนร่วมชุมชนในการจัดการการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและลุ่มน้ำท่าจีน- แม่กลอง.วันที่ 27-26 กันยายน พ.ศ. 2549. โรงแรมเมธาวลัยอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง 2545 การเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งลุ่มน้ำปากพนัง,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Jarupongsakul, T. 2000. Implication of sea- level rise and the coastal zone managements in the upper Gulf of Thailand In: Symposium on Mineral, Energy, and Water Resource of Thailand; Toward the year 2000: 37-53pp. Department of Geology,Chulalongkorn University

Thana, B.,Jaruopngsakul, T., and Chabangbon, A. 2005 Hydro-meterorlogical data analysis for the study coastal erosion problem at Pak Phanang River Basin Nakhon Si Thammarat at Province. Journal of Metals, Materials and Minerals.15 (1/2), 36-40 (in Thai)

Jarupongsakul,T 2005 The effect of Land Subsidence on Coastal Erosion Problems in the Upper Gulf of Thailand Journal of Metals, Materials and Minerals. 15(1/2), 106-120 (in Thai)

Soijisuporn,P, Phaksopa,J., Jarupongsakul,T.,and Thana, B.2005 Near-shore sediment transport along the Coastline of Pak Phanang River Basin, Nakhon Si Thammarat and Minerals. 15 (1/2),78-82 (in Thai)

Weesakul,S., and Charulakkhana,S.1990 Comparison of wave Hind east Method for Lower Gulf of Thailand The 22nd ICE, Delft,The Netherland, P 986-992

NEDECO.1995. A study on the siltation of the Bangkok Port Channel. The Hague,Holland.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.