ผลของการบริหารร่างกายโดยใช้ยางยืดเพื่อพัฒนาความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม

จตุรงค์ ทองดารา

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนโดยการประเมินความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และหลังก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการบริหารร่างกายโดยใช้ยางยืด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนระหว่างก่อนและหลังการบริหารร่างกายโดยใช้ยางยืดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 38 คน จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง จำนวน 19 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการบริหารร่างกายโดยใช้ยางยืดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 19 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องบริการร่างกาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) คู่มือการบริหารร่างกายโดยใช้ยางยืด 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายเพื่อทดสอบความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและ 4) แบบบันทึกความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบระดับความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อโดยการทดสอบค่าที (t-test)ผลการศึกษา พบว่า 1)ก่อนการทดลองระดับความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน 2) ระดับความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนของพนักงานก่อนและหลังการบริหารร่างกายเป็นเวลา 4 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)และ3)กลุ่มทดลองมีความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

Keywords


การบริหารร่างกายยางยืด; ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ

Full Text:

PDF

References


การกีฬาแห่งประเทศไทย.(2546).แบบทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย.กรุงเทพฯ:นิวส์ไทยมิตรการพิมพ์.

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. (2553). การฝึกความอ่อนตัว.วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2555,

เข้าถึงได้จาก http://dopah.anamai.moph.go.th/newssub_detail.php?catid=41&id=20

คุณัตว์พิธพรชัยกุล. (2553). เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ.เอกสารประกอบการบรรยายโครงการการเสริมสร้างพลังสุขภาพ.วันที่ 23 มีนาคม 2553 ณห้องราชาวดีชั้น 4โรงแรมทีเคพาเลซกรุงเทพฯ.

จันทนารณฤทธิวิชัย, ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์,สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี,รัชนี ศุจิจันทรรัตน์,ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์ และจันทนีกฤดิบวร.(2553).การประเมินสมรรถภาพกายก่อนและหลังการออกกำลังกายแอโรบิกแบบตารางเก้าช่อง และยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยใช้ยางยืดของผู้สูงอายุในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ.บทความพยาบาล, 27(3), 68-77.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2549).ยางยืดพิชิตโรค.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.

____ . (2550).ยางยืดชีวิตพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.

____ . (2550).ยืดชีวิตมิตรภาพ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นดิ้งแอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด.

ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และกันยา ปาละวิวัธน์.(2536).สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย.กรุงเทพฯ:ธรรมมลการพิมพ์.

ณัฏฐาจันทร์สุริยกุล. (2549). วิเคราะห์ท่าทางและความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อจากการทำงาน: กรณีศึกษาพนักงานในกระบวนการทดสอบลายวงจร. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย,คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงใจ แซ่หยี. (2553). การออกกำลังกายด้วยยางยืดสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน.

ธีระศักดิ์ อาภาวัฒนาสกุล.(2552).หลักวิทยาศาสตร์ในการฝึกกีฬา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัฒน์บุญสม.(2554).ผลการฝึกยืดเหยียดที่มีต่อความอ่อนตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน

ปลายโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. สาขาวิชาพลานามัย, โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.

มงคล แฝงสาเคน.(2549).การออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อสุขภาพและกีฬา

กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศิริการ นิพพิทา และนภัสกร จิตต์ไพบูลย์.(2550).การศึกษาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้

ยางยืดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ. คณะศิลปศาสตร์, สถาบันการพลศึกษา.

สุรีรัตน์ อ่ำทุ่งพงศ์.(2557). อาการปวดกล้ามเนื้อ.วันที่ค้นข้อมูล 15 สิงหาคม 2557, เข้าถึงได้จาก

www.thapthanhospital.go.th/thapthan/1.../บทความปวดกล้ามเนื้อ.pdf

Jack, H. Wilmore, David, L. Costill. (2008). Physiology of sport and exercise. Champaign, IL : Human Kinetics.

Moore, TM.(1998). A workplace stretching program.Physiologic and perception measurements before and after participation.Official Journal of the American Association of Occupational Health Nurses, 46(12): 563-568.

Rogers, ME.,Sherwood, HS., Rogers NL, Bohlken RM. (2002).Effects of dumbbell and elasticband training on physical function in older inner-city African-American women. Women & Health, 36(4) :33-41.

World Wide Resource for Runners. (2012). Stretching to Increase Flexibility. 04-03-2012, http://www.runtheplanet.com/trainingracing/stretching/chap4-increaseflex.asp.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.