การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ปณธิดา ลิ่มวชิรโชติ, ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียน, นิธิภัทร กมลสุข, มนัสศิริ นุตยกุล

Abstract


การสังเคราะห์งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมและประมวลผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการสังเคราะห์วิจัย คือ วิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ รายงานการวิจัย ที่มีประเด็นศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในแง่มุมต่างๆ ที่ตีพิมพ์ระหว่างพ.ศ. 2561-2566 ที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย หรือ Thai Digital Collection (ThaiLis)  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หรือ Digital Research Information Center และฐานข้อมูลงานวิจัยจากสถานบันต่างๆและสามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับสมบูรณ์ได้ (Full-text) ซึ่งการสืบค้นข้อมูลและคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดพบว่า มีกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์จำนวนทั้งหมด 72 เล่ม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษา พบว่า งานวิจัยร้อยละ 41.7 จะให้วามสนใจเกี่ยวกับการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสร้างแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และที่อยู่อาศัย) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยด้านพฤติกรรม การมีส่วนร่วมทางสังคม ด้านสวัสดิการทางสังคม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลในอนาคต เช่น การใช้เทคโนโลยีในการดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ การใช้โซเชียลมิเดียของผู้สูงอายุ การจ้างงานของผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้สามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง หรือทัศนคติความคิดของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีผลต่อบ้านพักคนชรา และมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการเริ่มจากตนเอง หรือคนในครอบครัว 1) การดูแลตนเอง สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง การบริโภคอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 2) การได้รับความรักจากครอบครัวหรือญาติ ทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา หรือโดดเดี่ยว หรือรู้สึกว่าตนเองเป็นภารของคนในครอบครัว การได้รับการเยี่ยมเยือนจากลูกหลาน 3) การสร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกและเหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น พื้นต่างระดับ มีราวทางเดินพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ 4) การพาผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมร่วม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันภายในครอบครั


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**