การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตแผ่นวัสดุประดับและตกแต่งจากเศษเหลือทิ้งในกระบวนการแปรรูปแมคคาเดเมีย
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบของแผ่นวัสดุตกแต่งจากเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปแมคคาเดเมีย ประเมิณคุณภาพและประเมิณความพึงพอใจของผู้ใช้งานต้นแบบแผ่นวัสดุตกแต่งจากเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปแมคคาเดเมีย ผลการวิจัยพบว่าได้ออกแบบสร้างต้นแบบแผ่นวัสดุตกแต่งจากเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปแมคคาเดเมียได้ 3 ลวดลาย ได้แก่ ลายจักสาน ลายราชวัด และลายดอกพิกุล ซึ่งมีขนาดความกว้าง 200 มิลลิเมตร ความยาว 250 มิลลิเมตร และ ความหนา 15 มิลลิเมตร ผลการประเมินด้านคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตภัณฑ์เรซิน มผช 366/2547 โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะที่ต้องการทั้ง 4 คุณลักษณะเป็น 3.76±0.33, 3.74±0.41 และ 3.88±0.28 ในลายดอกพิกุล ลายจักสาน และ ลายราชวัด ตามลำดับ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผูตรวจสอบทุกคนไม่นอย กวา 3 คะแนน เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในภาพรวมของผู้ใช้งานต้นแบบแผ่นวัสดุตกแต่ง มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.28 ± 0.45 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**