ผลของใบมะรุมต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
Abstract
การทำหน้าที่ผิดปกติของเกล็ดเลือดเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เควอซิทิน (Quercetin) เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้จากใบมะรุม มีความสามารถยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้ อย่างไรก็ตาม ผลของใบมะรุมต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในมนุษย์ยังคงไม่ชัดเจน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรับประทานใบมะรุมต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างมีกลุ่มควบคุมชนิดสลับข้ามที่ปกปิดสองฝ่าย (double-blind, cross-over, randomized controlled study) โดยมีผู้เข้าร่วมผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจำนวน 15 คน ผู้เข้าร่วมทุกคนถูกสุ่มลำดับการให้ยา โดยแบ่งเป็นได้รับใบมะรุมบดผง 1.8 กรัม ตามด้วยยาหลอก หรือยาหลอกตามด้วยใบมะรุมบดผง 1.8 กรัม โดยเก็บตัวอย่างเลือดเมื่อก่อนกินยา และที่ 30, 60 และ 120 นาทีหลังจากกินยา ผู้เข้าร่วมการศึกษามีอายุเฉลี่ย 47.1±5.1 ปี เมื่อถูกกระตุ้น ค่าเฉลี่ยการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในกลุ่มที่ได้รับใบมะรุมบดผงลดลงที่ 30, 60, และ 120 นาที อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับ baseline ระหว่างกลุ่มที่ได้รับใบมะรุมบดผงและกลุ่มยาหลอกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) โดยสรุป การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับก่อนได้รับใบมะรุมบดผงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**