ความสำคัญของพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์หลังเกิดเหตุระเบิด
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสำคัญของพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์หลังเกิดเหตุระเบิด จากเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี จำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการสัมภาษณ์ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยการใช้ประเด็น/แนวคำถามกว้างๆ เพื่อกระตุ้นให้คู่สนทนาเล่าเรื่องอย่างมีเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากการสัมภาษณ์ ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary – Source) และใช้มาตรการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ โดยใช้เทคนิคสามเส้า แล้วผู้วิจัยจึงได้นำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาประมวลและใช้วิธีการวิเคราะห์และตีความเนื้อหาที่เชื่อมโยงความสอดคล้องเนื้อหาโดยยึดหลักการวิเคราะห์ข้อมูล/เนื้อหา ( Content Analysis ) โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การตอบคำถามในการวิจัย รวมถึงการใช้สถิติแบบพรรณนา (Descriptive- Statistic) ช่วยในการนำเสนอเนื้อหาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ยิ่งขึ้น ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชายทั้งหมด จำนวน 10 ราย อายุเฉลี่ย 41-50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 8 ราย อนุปริญญา 1 ราย ปวช. 1 ราย มีอายุการปฏิบัติงานโดยเฉลี่ย 15-20 ปี และมีประสบการณ์ในการเก็บกู้วัตถุระเบิดโดยเฉลี่ย 200-250 ครั้ง จาการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดมีความรู้เกี่ยวกับพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในระดับน้อย ทั้งยังมีความต้องการฝึกอบรมวิชาเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ การตรวจสถานที่เกิดเหตุ การจัดเก็บพยานหลักฐาน การตรวจพิสูจน์ของกลาง อีกทั้งยังมีความต้องการด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ทันสมัย และเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**