รูปแบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา : โรงเรียนในพื้นที่ตำบลป่ากุมเกาะ
Abstract
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา : โรงเรียนในพื้นที่ตำบลป่ากุมเกาะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของชุมชนในตำบลป่ากุมเกาะ งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการตอบแบบสัมภาษณ์ครั้งนี้ได้แก่ประชากรตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักองค์กร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนในตำบลป่ากุมเกาะ ครูโรงเรียนในตำบลป่ากุมเกาะ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมในตำบลป่ากุมเกาะ นายกองค์การส่วนตำบลป่ากุมเกาะ 2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชนในตำบลป่ากุมเกาะ ผู้ปกครองโรงเรียนในตำบลป่ากุมเกาะ ชาวบ้านในชุมชนตำบลป่ากุมเกาะ คณะกรรมการโรงเรียนในตำบลป่ากุมเกาะ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ทั้ง 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. การสัมภาษณ์เชิงลึก คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักองค์กร จำนวน 15 คน 2. การสัมภาษณ์กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักชุมชน จำนวน 20 คน แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน วิเคราะห์ด้านเนื้อหา (Content Analy-sis) จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และ การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Group Interview) เพื่อนําข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างรูปแบบการสื่อสาร
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**