การศึกษาการจัดแสดงงานหัตถกรรมเพื่อหาแนวทางในการออกแบบนิทรรศการ เสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์”

พนม จงกล, ศาสตรพันธุ์ บุญน้อย, กรกนก สนิทการ

Abstract


วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมองค์ความรู้และการจัดแสดงงานหัตถกรรมในจังหวัดจันทบุรี และเพื่อหาแนวทางในการออกแบบนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์” โดยขอบเขตรวบรวมองค์ความรู้และการจัดแสดงงาน จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัตถกรรมในจังหวัดจันทบุรี และการศึกษาจากภาคเอกสาร ผลการวิจัยพบว่าจากองค์ความรู้และการจัดแสดงงานหัตถกรรมประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ มุมมองที่มีต่องานหัตถกรรมในจังหวัดจันทบุรีที่อยากให้ทุกคนได้ทราบถึงงานหัตถกรรมเสื่อจันทบูรที่หลายคนมองข้าม ความเป็นมาความสำคัญและกระบวนของการได้มาของเสื่อจันทบูรและแหล่งวัตถุดิบที่ถูกยกย่องให้กกขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการต่อยอดของคนรุ่นใหม่ที่สืบทอดเสื่อจันทบูรไปสู่สินค้าที่ทันสมัย แนวทางในการออกแบบนั้นมีการวิเคราะห์หัวข้อการจัดแสดงได้ผลการวิจัยเป็นรูปแบบของโซนจัดแสดง 4 โซน ได้แก่ “โซนแลจันท์” จัดแสดงถึงภาพของดีภายในจังหวัดและเสื่อจันทบูรที่เป็นตัวเล่าเรื่องราวของนิทรรศการ, “โซนปูเสื่อนั่งคุย” เล่าเรื่องราวของกกที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทอเสื่อผ่านเรื่องราวจากภาพและบทความ, “โซนวิถีจันท์” เล่าถึงประวัติของเสื่อจันทบูร กระบวนการทอเสื่อกกผ่านเรื่องราวจากภาพ บทความ และวีดิทัศน์ “โซนสานต่อ” จัดแสดงเรื่องราวของคนรุ่นใหม่ที่มีการสืบทอดโดยการนำเสื่อจันทบูร สร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้ารูปแบบใหม่ ๆผ่านการจัดแสดงในรูปแบบจำลองห้องโชว์รูม เหมือนผู้เข้าชมได้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์ในห้องนี้


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**