แนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน เขตนนทบุรี 1

เพียงเพ็ญ อารีย์เจริญ, จรัชวรรณ จันทรัตน์

Abstract


การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเรื่อง แนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน เขตนนทบุรี 1 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหาสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่เลือกใช้บริการสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน ทำให้สินเชื่อดังกล่าวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด 2) เพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางในการเพิ่มยอดสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน ของธนาคารออมสินสาขาในเขตนนทบุรี 1 เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าของธนาคารออมสินในเขตนนทบุรี 1 จำนวน 420 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีผู้ตอบกลับแบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อสัมภาษณ์ในเชิงลึกปลายเปิดลูกค้าและพนักงานธนาคารออมสิน จำนวน 24 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงินในเขตนนทบุรี 1 ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร และด้านราคา และการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อ โดยสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงินตรงกับความต้องการ ผลของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้ทฤษฎีผังก้างปลาของการใช้บริการสินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน ปัญหาสำคัญ 4 สาเหตุหลัก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อมีข้อจำกัด ด้านราคา คือ จำกัดวงเงินกู้เพื่ออุปโภค ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ยื่นขอสินเชื่อได้เฉพาะที่สาขา ด้านการส่งเสริมการตลาด คือ มีการประชาสัมพันธ์น้อย ด้านกระบวนการ คือ มีความล่าช้าในการพิจารณา ด้านบุคลากรและด้านลักษณะทางกายภาพ คือ บุคลากรน้อย ดูแลลูกค้าได้ไม่ทั่วถึง แนวทางการพัฒนาด้านกระบวนการเป็นการพัฒนากระบวนการขอสินเชื่อให้มีความรัดกุม ปรับลดข้อจำกัด หลักเกณฑ์เอกสารและหลักประกันที่นำมาใช้ การพัฒนาการส่งเสริมการตลาดโดยการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นยอดเพิ่มขึ้น และการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์เป็นการเพิ่มวงเงินกู้ ปรับลดข้อจำกัดของหลักประกันที่นำมาใช้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**