ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงในประเทศเวียดนาม: กรณีศึกษา บริษัทไทยที่ลงทุนในธุรกิจสัตว์น้ำแปรรูป และอาหารทะเลแปรรูป ในประเทศเวียดนาม

ณัฐณิชา โยธาประเสริฐ, ชญานี ชวะโนทย์

Abstract


งานศึกษาชิ้นนี้เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงในประเทศเวียดนาม กรณีศึกษา บริษัทไทยที่ลงทุนในธุรกิจสัตว์น้ำแปรรูป และอาหารทะเลแปรรูปในประเทศเวียดนาม โดยการวิเคราะห์ใช้แนวคิดจากทฤษฎีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ได้แก่ ทฤษฎีการสรรหา (Dunning’s Eclectic Theory)  หรือ OLI Framework และทฤษฎีเกี่ยวกับสถาบัน (Institutional Theory) ตลอดจนวิเคราะห์โครงสร้างตลาดธุรกิจสัตว์น้ำและอาหารทะเลแปรรูปของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน รวมทั้งพัฒนาการทางกฎหมาย นโยบายการค้าการลงทุน กฎระเบียบขั้นตอน สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทางตรงในเวียดนาม อีกทั้งในการศึกษายังได้พิจารณามูลเหตุจูงใจของผู้ประกอบการไทยที่ลงทุนในธุรกิจสัตว์น้ำและอาหารทะเลแปรรูปในประเทศเวียดนาม จากการสัมภาษณ์ มาประกอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าการลงทุนของผู้ประกอบการไทยที่ลงทุนในธุรกิจสัตว์น้ำแปรรูป และอาหารทะเลแปรรูปในประเทศเวียดนาม ส่วนใหญ่จะมีทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่จัดอยู่ในเขตเศรษฐกิจตอนใต้ของเวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม (industrial hub) ซึ่งมีความได้เปรียบที่เกิดจากแหล่งที่ตั้ง (Location-Specific Advantage) แต่ปัจจัยสนับสนุนด้านนโยบายของรัฐบาล เป็นตัวผลักดันสำคัญให้เกิดการตัดสินใจลงทุน อาทิ สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร ตลอดจนสิทธิพิเศษด้านที่ดินและอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยจะต้องมีขั้นตอน และกระบวนการดำเนินการขออนุมัติก่อนการทำธุรกิจในเวียดนามตามกฎหมายการลงทนุ ค.ศ. 2014 และผู้ประกอบการไทยที่ลงทุนในธุรกิจสัตว์น้ำแปรรูป และอาหารทะเลแปรรูปในประเทศเวียดนามจะมีประสบการณ์ในประเทศไทยมาก่อน และเริ่มเข้ามาลงทุนในประประเทศเวียดนามมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร จึงมีความเชี่ยวชาญ ประกอบกับปัจจัยด้านแรงงานในประเทศเวียดนามที่ต้นทุนค่าแรงไม่สูง และมีแบรนด์เป็นของตัวเองซึ่งนับเป็นความได้เปรียบในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินพิเศษบางอย่าง (Ownership Specific Advantage) อย่างไรก็ตามความได้เปรียบในการทำให้เป็นประโยชน์แก่องค์การด้วยตัวเอง (Internalization Incentive Advantages) อาจยังไม่ใช่ส่วนสำคัญในการผลักดัน และสร้างความได้เปรียบที่กิจการสาขาได้รับจากบริษัทแม่  ตลอดจนการกระจายการผลิตไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ มีเหตุผลหลักด้านการตัดสินใจในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในแนวตั้ง (Vertical FDI) ใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยภาพรวมผู้ประกอบการมองว่าอาจยังมีข้อจำกัดด้านปริมาณฐานการผลิตที่ไม่ได้ใหญ่เพียงพอ เมื่อเทียบกับขนาดของตลาดภายในประเทศ และพลวัตของกฎระเบียบต่าง ๆ สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติที่รัฐบาลยังต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**