กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้างความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21

เบญจ์ กิติคุณ

Abstract


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 และ 2) เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้างความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้างความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 9 โรง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1) การศึกษาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 และขั้นตอนที่ 2) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้างความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 54 คน และ 2) ผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 45 คน สรุปผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21    ในมิติความจริง ความดี ความงามอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ ครูรักลูกศิษย์ สุภาพอ่อนน้อม ตั้งใจสอน มาปฏิบัติงานแต่เช้า แต่มีบางมิติที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข เช่น ไม่เตรียมการสอน ชอบซื้อหวยใต้ดิน การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ส่วนในประเด็นความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่จะสอนนั้นยังต้องพัฒนาตนเองอย่างเข้มข้นและเร่งด่วน ได้แก่ ประวัติศาสตร์ชาติไทย หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม มิเช่นนั้นแล้วเยาวชนในระบบการศึกษาไทยจะไม่รู้รากเหง้าของตนเอง ขาดความรักในแผ่นดินถิ่นเกิดและครูผู้สอนยังขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีในการสอนอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ การจัดทำ Power Point การใช้ Microsoft Word และ Google Meet ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้การสอนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และ 2) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้างความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) การบ่มเพาะความจริง ความดี ความงาม 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านเนื้อหาที่จะสอน 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการใช้เทคโนโลยีในการสอน 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ 5) การสังเกตการณ์สอนของครูต้นแบบ บันทึกวีดิโอ และสะท้อนกลับ 6) การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 7) การปรับปรุง แก้ไข ดังกล่าว จึงเห็นได้ว่ากระบวนทัศน์ใหม่ที่ครูผู้สอนได้ร่วมกันสร้างขึ้น ส่งผลให้สัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนดีขึ้นตามต้องการ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**