ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของกรมการค้าต่างประเทศ

รังสฤษฎ์ เรียนทอง, วัลลภ รัฐฉัตรานนท์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของกรมการค้าต่างประเทศ และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการกรมการค้าต่างประเทศ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ประชากรที่มาใช้บริการกับกรมการค้าต่างประเทศจำนวน 280 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนผู้ที่มาติดต่อการให้บริการของกรมการค้าต่างประเทศมีความพึงพอใจในระดับสูง ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ตัวแปร อาชีพ มีความพึงพอใจต่อการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา มีความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่แตกต่างกัน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**