การพัฒนาระบบภาษีสำหรับควบคุมมลพิษทางอากาศจากการใช้รถ: กรณีศึกษา พื้นที่กรุงเทพมหานคร
Abstract
งานศึกษาต้องการพัฒนาระบบภาษีที่ใช้สำหรับควบคุมมลพิษในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เริ่มจากการทบทวนปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร จากนั้นพัฒนาแบบจำลองสำหรับพัฒนาระบบภาษีและใช้วิธีผู้วางแผนนโยบาย (Social planner) ในการหาอัตราภาษีที่ดีที่สุด นอกจากนี้งานศึกษายังวิเคราะห์ผลกระทบต่อสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบรูปแบบภาษีแต่ละรูปแบบ อาทิ การบริโภคเชื้อเพลิง ปริมาณการเดินทาง ขนาดเครื่องยนต์ และอายุของรถ รวมถึงผลกระทบต่อปริมาณมลพิษรวมในสังคมและสวัสดิการสังคมด้วย ผลลัพธ์จากงานศึกษาแนะนำให้รัฐบาลปรับปรุงภาษีสำหรับควบคุมมลพิษจากการใช้รถที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โดยแนะนำให้เพิ่มภาษีเชื้อเพลิง ร้อยละ 6.86 เพิ่มภาษีรถยนต์ ร้อยละ 7.16 และอุดหนุนภาษีต่ออายุประจำปี 0.2843 บาทต่อ 1 หน่วยค่าเสื่อมของรถ ผลจากการปรับปรุงภาษีดังกล่าว
จะทำให้ปริมาณมลพิษรวมลดลงร้อยละ 4.08 และได้รับสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.08
เริ่มจากการทบทวนปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร จากนั้นพัฒนาแบบจำลองสำหรับพัฒนาระบบภาษีและใช้วิธีผู้วางแผนนโยบาย (Social planner) ในการหาอัตราภาษีที่ดีที่สุด นอกจากนี้งานศึกษายังวิเคราะห์ผลกระทบต่อสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบรูปแบบภาษีแต่ละรูปแบบ อาทิ การบริโภคเชื้อเพลิง ปริมาณการเดินทาง ขนาดเครื่องยนต์ และอายุของรถ รวมถึงผลกระทบต่อปริมาณมลพิษรวมในสังคมและสวัสดิการสังคมด้วย ผลลัพธ์จากงานศึกษาแนะนำให้รัฐบาลปรับปรุงภาษีสำหรับควบคุมมลพิษจากการใช้รถที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โดยแนะนำให้เพิ่มภาษีเชื้อเพลิง ร้อยละ 6.86 เพิ่มภาษีรถยนต์ ร้อยละ 7.16 และอุดหนุนภาษีต่ออายุประจำปี 0.2843 บาทต่อ 1 หน่วยค่าเสื่อมของรถ ผลจากการปรับปรุงภาษีดังกล่าว
จะทำให้ปริมาณมลพิษรวมลดลงร้อยละ 4.08 และได้รับสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.08
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**