บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ของญี่ปุ่น กรณีศึกษา แบรนด์ Jonetsu Kakaku ในห้าง Don Quijote สาขาประเทศไทย

เนติรัตน์ เทียนไทย, สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์, วิชชาญา ปานาผล

Abstract


การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด 7P ภาพลักษณ์ของร้านค้า ความคุ้นชินกับแบรนด์ และความตั้งใจซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ของผู้บริโภคและ 3) เพื่อศึกษาส่วนปัจจัยประสมทางการตลาด 7Pภาพลักษณ์ของร้านค้าและความคุ้นชินกับแบรนด์ ที่ส่งผลกับการเลือกซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ของผู้บริโภค การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงประเภทการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-24 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 20,001-30,000 บาท ความถี่ต่อเดือนของการซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ 2-3 ครั้ง/เดือน ช่วงวันที่ซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ วันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลาการเดินทางมาใช้บริการห้าง Don Quijote สาขาประเทศไทย 18:00 น. - 23:59 น. จำนวนเงินเฉลี่ยต่อการซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ 1,001 – 2,000 บาท เหตุสำคัญที่สุดในการตัดหสินใจเลือกซื้อสินค้าไพรเวทแบรนด์ ราคาที่เหมาะสม, มาตรฐานและคุณภาพของแบรนด์, ภาพลักษณ์ของแบรนด์, ภาพลักษณ์ของแบรนด์, กิจกรรมส่งเสริมการขาย, ชื่อเสียงของแบรนด์, การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เรียงตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ส่วนประสมทางการตลาด 7P ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ และความคุ้นชินกับแบรนด์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนภาพลักษณ์ร้านค้าไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**