การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีวงจรความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model) เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอกะเหรี่ยง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านผาเยอ ตำบลกองก๋อย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีวงจรความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model) เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านผาเยอ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียน เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอกะเหรี่ยง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีวงจรความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model) และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีวงจรความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model) เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอกะเหรี่ยง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านผาเยอ ตำบลกองก๋อย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 17 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีวงจรความรู้ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอกะเหรี่ยง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ระดับมาก ( = 4.31, S.D. = 0.37) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีวงจรความรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**