พระเครื่องและเรื่องเล่า: กรณีศึกษา พระเครื่องของหลวงปู่มั่น ทตฺโต วัดบ้านโนนเจริญ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

สมฤทัย เกษอินทร์ษา, ทำนอง วงศ์พุทธ

Abstract


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพระเครื่องและเรื่องเล่า: กรณีศึกษา พระเครื่องของหลวงปู่มั่น ทตฺโต วัดบ้านโนนเจริญ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ใน 2 ประเด็นคือ ศึกษาพระเครื่องในแง่รูปแบบ ลักษณะและโอกาสในการสร้าง ตลอดจนคติความเชื่อ ค่านิยมที่ปรากฏในพระเครื่องของหลวงปู่มั่น ทตฺโต และศึกษาระบบคิด ความเชื่อ ค่านิยม ที่แสดงออกผ่านเรื่องเล่าของหลวงปู่มั่น ทตฺโต งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางคติชนวิทยาโดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลในอำเภอนาจะหลวย และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของพระเครื่องของหลวงปู่มั่น ทตฺโต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.พระเนื้อผงว่าน 2.พระเนื้อโลหะ 3.เครื่องรางของขลัง โอกาสในการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่มั่น ทตฺโต ส่วนใหญ่จัดสร้างในวาระครบรอบทำบุญอายุ เนื่องจากหลวงปู่มั่น ทตฺโต เป็นพระสงฆ์ที่มีอายุยืนถึง 104 ปีรูปแบบของพระเครื่องรวมถึงเครื่องรางของขลังของหลวงปู่มั่น ทตฺโต ส่วนใหญ่จะมีการใช้ยันต์ มนต์คาถาที่เป็นอักษรตัวธรรมโบราณภาษาส่วยที่แสดงให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของท้องถิ่น รูปแบบของพระเครื่องรวมทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระเครื่องของหลวงปู่มั่น ทัตโต แสดงให้เห็นถึงความเชื่อด้านต่าง ๆ ผ่านองค์ประกอบดังนี้คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับปฏิปทาและฉายาของท่าน รวมทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ของพระเครื่องและวัตถุมงคล


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**