การพัฒนาความสามารถในการเขียนตัวเลขอารบิก 1-10 ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การเขียนแบบการจดจำรูปภาพ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนตัวเลขอารบิค 1 - 10 ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการเขียนแบบจดจำรูปภาพ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการเขียนตัวเลขอารบิค 1 - 10 แบบจดจำรูปภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเขียนตัวเลขอารบิก 1-10 โดยใช้การเขียนแบบการจดจำรูปภาพ จำนวน 20 แผน, แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนตัวเลขอารบิก 1-10 ของเด็กปฐมวัย จำนวน 2 ชุด ชุดละ 10 ข้อ รวมทั้งหมด 20 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเขียนตัวเลขอารบิก 1-10 โดยใช้การเขียนแบบการจดจำรูปภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าคะแนนเฉลี่ย (), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยคำนวณจากสูตร t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในการเขียนตัวเลขอารบิค 1-10 หลังใช้การเขียนแบบจดจำรูปภาพสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้การเขียนแบบจดจำรูปภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน และความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**