การบริหารจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม

ณัฐฐา นพเก้า, สุทธิพงศ์ บุญผดุง

Abstract


การบริหารจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการบริหารจัดการการศึกษาสำหรับเด็กทั่วไป จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้ที่มีความต้องการพิเศษมีสิทธิได้รับเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ ตลอดจนมีสิทธิเลือกรับบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น ซึ่งการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในประเทศไทยใช้การบริหารจัดการศึกษาใบริบทของการเรียนรวม โดยนำหลักการการจัดสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment : LRE) และการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design : UD) มาใช้กับบริบทของประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า “โครงสร้างซีท” (SEAT framework) มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1) นักเรียน (Student) 2) สภาพแวดล้อม (Environment) 3) กิจกรรมการเรียนการสอน (Activities) 4) เครื่องมือ (Tools) ดังนั้นการบริหารจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเด็กพิเศษให้มีศักยภาพได้รับบริการทางการศึกษาตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระในทุกบริบทของสังคม

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**