รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ
Abstract
การบริหารและการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ประสบปัญหาด้านคุณภาพ จำนวนเด็กนักเรียนลดลงเนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรลดลง ส่งผลให้โรงเรียนประถมศึกษาในภาครัฐจำนวนมากมีขนาดเล็กลง นักเรียนขาดโอกาสในการศึกษา เกิดความเหลื่อมล้ำ ครูไม่ครบชั้น ครูไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ขาดอุปกรณ์แหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีคุณภาพ นอกจากโรงเรียนประถมศึกษา ที่มีขนาดเล็กลง โรงเรียนมัธยมศึกษาที่อยู่รอบนอกในระดับอำเภอมีจำนวนนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้ปกครองที่มีรายได้สูงนิยมส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยมประจำจังหวัดซึ่งมีความพร้อมทั้งอาคารสถานที่ อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง มีจำนวนนักเรียนเกินอัตราต่อห้องเรียนพื้นที่ไม่พอเพียงต่อการจัดการเรียนรู้ จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการบูรณาการด้านการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการศึกษา โดยแบ่งการบริหารจัดการศึกษาเป็น 3 ประเภท ได้แก่ โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา และโรงเรียนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง (Stand Alone)
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**