การประเมินโครงการเด็กดีมีเงินออมโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา

เพ็ญนภา คูวิบูลย์ศิลป์, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์, นพรัตน์ ชัยเรือง

Abstract


การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินของอัลคิน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบโครงการ  ประเมินการวางแผนโครงการ ประเมินการนำไปใช้เพื่อการดำเนินโครงการ ประเมินการปรับปรุงโครงการ และประเมินการยอมรับโครงการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา จำนวน 165 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเมินระบบของโครงการโดยรวมมีความเพียงพอ/เหมาะสมระดับมากที่สุด 2) ประเมินการวางแผนโครงการโดยรวมมีความเพียงพอ/เหมาะสมระดับมากที่สุด 3) ประเมินการนำไปใช้ของโครงการโดยรวมมีความเพียงพอ/เหมาะสมระดับมาก 4) ประเมินการปรับปรุงโครงการ ได้แก่ ควรสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการออมเงินให้กับนักเรียน ควรมีการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนคิดก่อนใช้เงิน และวางแผนการออมเงินในอนาคต สนับสนุนการหารายได้ระหว่างเรียน มีเกียรติบัตรให้กับนักเรียนที่มีการออมสม่ำเสมอ ควรมีธนาคารโรงเรียนภายในโรงเรียนและจัดช่วงเวลาให้เหมาะสำหรับนักเรียน มีการจับฉลากให้รางวัลนำโชคของทุกปี เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีการออมเงินที่ยั่งยืน มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออมเงิน เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมทักษะการคิดในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการอบรมทักษะงานอาชีพ และขยายผลสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนจะทำให้โครงการเด็กดีมีเงินออมโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมของผู้เรียนได้อย่างยั่งยืน 5) ประเมินการยอมรับโครงการ โดยรวมมีความพึงพอใจผ่านเกณฑ์ พิจารณารายข้อ พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ข้อ ได้แก่ นักเรียนทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำวันเป็นประจำต่อเนื่อง

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**