การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการทาเจลผงบุกคอนยัค กลูโคแมนแนน ไฮโดรไลเซท 5% กับยาเจลคลินดามัยซิน 1% ในการรักษาสิว

สิริพงษ์ เตชะภิญญาวัฒน์, เทพ เฉลิมชัย

Abstract


สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของเจลผงบุกคอนยัค กลูโคแมนแนน ไฮโดรไลเซท ซึ่งเป็นเป็นพรีไบโอติก สามารถลดจำนวนแบคทีเรียชนิดคิวติแบคทีเรียมแอคเน่ ในการรักษาสิว โดยเป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเลือก มีกลุ่มเปรียบเทียบแบบแบ่งครึ่งหน้า โดยมีการปกปิดสองฝ่าย โดยจะสุ่มเพื่อแบ่งซีกใบหน้าเป็นสองข้างให้ใบหน้าด้านหนึ่ง ทาเจล  5% ผงบุกคอนยัคกลูโคแมนแนน ไฮโดรไลเซท ส่วนอีกข้างหนึ่งทาเจล 1% คลินดามัยซิน ในเวลาเช้าและเย็นหลังล้างหน้า ติดตามผลการรักษาโดยประเมินผลจากการนับจำนวนเม็ดสิว ถ่ายภาพใช้กล้อง VISIA Complexion Analysis ตรวจวัดสารพอร์ไฟริน หรือ ของเสียจากกระบวนการเผาผลาญจากเชื้อแบคทีเรียคิวติ แบคทีเรียมแอคเน่ ที่ผิวหน้า ประเมินระดับความพึงพอใจ และผลข้างเคียง งานวิจัยจะติดตามที่ ก่อนการรักษา ที่สัปดาห์ที่ 1, 4 และ 8  พบว่า จากอาสาสมัคร ทั้งหมด 11 คน ที่มีสิวระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง พบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการทาเจล 5% ผงบุกคอนยัคกลูโคแมนแนน ไฮโดรไลเซท มีค่าเฉลี่ยของจำนวนสิวอักเสบ  (Inflammatory papular acne) ลดลงอย่างต่อเนื่อง ที่ 1, 4 และ 8 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับก่อนการรักษา (p=0.0115) อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p >0.05) การเปรียบเทียบจำนวนสิวไม่อักเสบหรือสิวอุดตัน (comedone) ค่าเฉลี่ยสารพอร์ไฟริน และ ระดับความพึงพอใจต่อผลการรักษา ระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน (p >0.05) งานวิจัยนี้ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ สรุปว่า การทาเจล 5% ผงบุกคอนยัคกลูโคแมนแนน ไฮโดรไลเซท ได้ผลดีในการลดจำนวนสิวอักเสบเมื่อเทียบกับก่อนรักษา แต่ไม่มีความแตกต่างจากการรักษาด้วยการทาเจล 1% คลินดามัยซินและไม่พบผลข้างเคียงใดๆ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**