ผลเฉลยใหม่สำหรับปัญหาฐานรากรับแรงแบกทานและแรงถอนในดินเหนียวแบบไม่สมนัย

ทินภัทร อุ่นใจเพื่อน, วีรยา ฉิมอ้อย, สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์

Abstract


บทความนี้นำเสนอการศึกษาแฟกเตอร์กำลังรับแรงแบกทาน (Nc) และแฟกเตอร์กำลังรับแรงถอน (Fc)  ของฐานรากแถบและฐานรากวงกลม ในดินเหนียวชั้นเดียวแบบไม่สมนัย โดยใช้วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์แบบลิมิตในระนาบความเครียด 2 มิติ ในการวิเคราะห์หาผลเฉลยของปัญหา ซึ่งดินเหนียวถูกจำลองเป็นอิลิเมนต์ของวัสดุที่มีคุณสมบัติวัสดุแบบ Anisotropic Undrained Shear Model (AUS) ในสภาวะไม่ระบายน้ำ ส่วนฐานรากแถบ และฐานรากวงกลม ถูกจำลองให้มีคุณสมบัติวัสดุแบบแข็งเกร็ง ผลเฉลยของปัญหาแบบแบกทานเสนอในรูปแบบตัวแปรไร้มิติระหว่างกำลังรับแรงแบกทานต่อกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ (qu/Suc) หรือแฟกเตอร์กำลังรับแรงแบกทาน (Nc) ส่วนผลเฉลยของปัญหาแบบรับแรงถอน อยู่ในรูปตัวแปรไร้มิติระหว่างกำลังรับแรงถอนต่อกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ หรือแฟกเตอร์กำลังรับแรงถอน (Fc) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวแปรดังนี้คือ อัตราส่วนความลึกต่อความกว้างฐานราก (H/B) อัตราส่วนความลึกต่อเส้นผ่านศูนย์กลางฐานราก (H/D) ส่วนคุณสมบัติไม่สมนัยของดินเหนียวถูกกำหนดผ่านตัวแปรอัตราส่วนกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำในการทดสอบแรงดึงต่อแรงอัด (Sue/Suc หรือ re) จากการวิเคราะห์พบว่า กรณีฐานรากรับแรงแบกทาน ทั้งฐานรากแบบแถบและวงกลม Nc มีค่าสูงสุดเมื่อ re มีค่าเท่ากับ 1 และ H/B มีอิทธิพลต่อ Nc เมื่อ H/B ≤ 2 ส่วนกรณีฐานรากรับแรงถอน สำหรับฐานรากแบบแถบและวงกลม H/B มีอิทธิพลต่อ Fc เมื่อ H/B < 14 และ H/D < 4-6 (ขึ้นอยู่กับค่า re) ตามลำดับ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**