การใช้เลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์ ในขั้วไอออนเลือกจำเพาะชนิดพอลิเมอร์เมมเบรน

กฤติพงศ์ คนแรง, ธวัชชัย ตันฑุลานิ

Abstract


เลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์ (layered double hydroxides, LDHs) หรือ สารประกอบไฮโดรทาลไซต์ (hydrotalcites) สารกลุ่มนี้มักถูกเรียกว่าเป็นแอนไอออนิกเคลย์ (anionic clays) ที่คุณสมบัติในการดูดซับและแลกเปลี่ยนแอนไอออนที่จำเพาะได้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับการจำพวกสารกลุ่มไอโอโนฟอร์ (ionophore) และสารเติมแต่งไอออนิก (ionic additive) ที่ใช้ในขั้วไอออนเลือกจำเพาะ (ion selective electrodes, ISE) จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำสารกลุ่มเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์มาใช้แทนไอโอโนฟอร์ และสารเติมแต่งไอออนิกในการขึ้นรูปเมมเบรนสำหรับขั้วไอออนเลือกจำเพาะ ในงานวิจัยนี้เลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์ชนิดแมกนีเซียม-อะลูมิเนียมที่มีไนเตรตไอออนแทรกตัวอยู่ระหว่างเลเยอร์ () ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาขึ้นรูปร่วมกับพีวีซีเป็นไอออนซีเล็คทีฟพอลิเมอร์เมมเบรน (ion selective polymeric membrane) พร้อมทั้งศึกษาผลของปริมาณ  ที่ใช้ ตลอดจนการตอบสนองทางความต่างศักย์ที่มีต่อแอนไอออน พบว่าพอลิเมอร์ เมมเบรนที่มี 30%(w/w)  แสดงผลการตอบสนองทางศักย์ไฟฟ้าที่สูง เมื่อทดสอบกับ  และ SCN ให้การวัดที่เป็นเส้นตรง (linear concentration range) ในช่วง 1.0×10−4 to 1.0×10−2 M ที่มีค่า Nernstian slope เป็น -51.31 และ -49.05 mV decade−1 ตามลำดับ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**