การประเมินนิวไคลด์กัมมันตรังสี (226Ra, 232Th และ 40K) ในดินบริเวณรอยเลื่อนเขาเด่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Abstract
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีจากธรรมชาติ 226Ra, 232Th และ 40K และคำนวณหาค่ากัมมันตภาพรังสีสมมูลเรเดียม (Raeq) ค่าดัชนีความเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากภายในร่างกาย (Hin) ค่าดัชนีความเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากภายนอกร่างกาย (Hex) ค่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาดูดกลืน (D) และค่าปริมาณรังสีที่ได้รับจากภายนอกร่างกายประจำปี (E) ในตัวอย่างดินจำนวน 12 ตัวอย่าง บริเวณแนวรอยเลื่อนเขาเด่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีวิเคราะห์แกมมาสเปกโตรเมตรี หัววัดเจอร์เมเนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe) พบว่า ค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 226Ra, 232Th และ 40K ค่าเฉลี่ย 69.98 ± 0.77 Bq/kg, 92.68 ± 0.76 Bq/kg), และ 1515.21 ± 0.67 Bq/kg ตามลำดับ ดินหลายตัวอย่างมีค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย และค่าเฉลี่ยทั่วโลก นอกจากนี้ค่าดัชนีความเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากภายในร่างกาย (Hin) (ค่าเฉลี่ย 1.05 ± 0.08) และค่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาดูดกลืน (D) (ค่าเฉลี่ย 151.50 ± 10.27 nGy/h) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดย UNSCEAR (2000)
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**