ประเมินกัมมันตภาพรังสีธรรมชาติ และปริมาณรังสีในดินตะกอนจากเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ที่มีสารกัมมันตรังสีภูมิหลังสูงของประเทศไทย

ผกามาศ แต้มจันทร์, พวงทิพย์ แก้วทับทิม

Abstract


นิวไคลด์กัมมันตรังสีเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งซึ่งมีแหล่งกำเนิดทั้งในธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น สำหรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีจากธรรมชาติพบมากในบริเวณที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เป็นหินแกรนิต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ 226Ra, 232Th และ 40K และคำนวณหาค่ากัมมันตภาพรังสีสมมูลเรเดียม (Raeq) ค่าดัชนีความเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากภายในร่างกาย (Hin) ค่าดัชนีความเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากภายนอกร่างกาย (Hex) ค่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาดูดกลืน (D) และค่าปริมาณรังสีที่ได้รับจากภายนอกร่างกายประจำปี (AEDE) ในตัวอย่างดินตะกอน จำนวน 18 ตัวอย่างบริเวณเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีวิเคราะห์แกมมาสเปกโตรเมตรี หัววัดเจอร์เมเนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe) พบว่า ดินหลายตัวอย่างมีค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย และค่าเฉลี่ยทั่วโลก นอกจากนี้ค่ากัมมันตภาพรังสีสมมูลเรเดียม ค่าดัชนีความเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากภายในร่างกาย และจากภายนอกร่างกาย ค่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาดูดกลืน และค่าปริมาณรังสีที่ได้รับจากภายนอกร่างกายประจำปีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดย UNSCEAR (2000)

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**