เซนเซอร์การเปล่งแสงแบบแคทเมียมเทลลูไรด์ควอนตัมดอทที่เคลือบผิวด้วยกรดไทโอไกลโคลิก สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณฮีสตามีนในอาหาร

กัมปนาท แก้วใหญ่, กาญจนา อุไรสินธว์, จงกล ตันติรุ่งโรจน์ชัย, ณัฐวุฒิ เชิงชั้น

Abstract


งานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอวิธีทางเลือกในการวิเคราะห์ฮีสตามีนในอาหารด้วยการใช้เซนเซอร์การเปล่งแสงแบบแคทเมียมเทลลูไรด์ควอนตัมดอทที่เคลือบผิวด้วยกรดไทโอไกลโคลิก (TGA-capped CdTe Quantum dots) โดยการเปลี่ยนแปลงสัญญาณของการเปล่งแสงนั้นเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างหมู่เอมีน (amine group) ของฮีสตามีนกับผิวของควอนตัมดอท เกิดเป็นพันธะ N-Cd จากการตรวจสอบคุณสมบัติทางแสงของควอนตัมดอทโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสง และวัดค่าการเปล่งแสง พบว่าควอนตัมดอทที่สังเคราะห์ได้มีความเข้มข้น 3.74x10-5 โมลาร์ และมีขนาด 1.92 นาโนเมตร (n=17) จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ฮีสตามีนพบว่า ความเข้มข้นของควอนตัมดอทที่ 4.2 ไมโครโมลาร์ และความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่ pH 7.0 เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ฮีสตามีน ซึ่งครอบคลุมช่วงความเข้มข้นของฮีสตามีนตั้งแต่ 5.0 ถึง 50.0 ไมโครโมลาร์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient, r2) เท่ากับ 0.999 ขีดจำกัดการตรวจหา (LOD, 3SD/m where SD is standard deviation of y-intercept) และขีดจำกัดการวัดเชิงปริมาณ (LOQ, 10SD/m) ของฮีสตามีนเท่ากับ 1.13 และ 3.78 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ความเที่ยงในการวิเคราะห์ (%RSD) น้อยกว่า 1.0 (30.0 ไมโครโมลาร์, n=5) นอกจากนี้ระบบที่ได้พัฒนาขึ้นมีความแม่นยำสูง โดยค่าร้อยละของการวิเคราะห์คืนกลับอยู่ในช่วงร้อยละ 80-120 จึงกล่าวได้ว่าเซนเซอร์การเปล่งแสงที่ได้พัฒนาขึ้นถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการวิเคราะห์ฮีสตามีนในตัวอย่างอาหารได้เป็นผลสำเร็จ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**