การตรวจวัดปริมาณพาราเบนโดยใช้ระบบไซมัลทีเนียสอินเจคชันเอฟเฟคทีฟมิกซิงโฟลว์อะนาลิซิสร่วมกับการตรวจวัดการเรืองแสงทางเคมี

ประภัสสร จิตเที่ยง, กาญจนา อุไรสินธว์, นวลละออ รัตนวิมานวงศ์, Shoji Motomizu

Abstract


งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบการไหลอัตโนมัติไซมัลทีเนียสอินเจคชันเอฟเฟคทีฟมิกซิงโฟลว์อะนาลิซิส (Simultaneous Injection Effective Mixing Flow Analysis; SIEMA) ร่วมกับการตรวจวัดการเรืองแสงทางเคมี (Chemiluminescence) เพื่อหาปริมาณเมทิลพาราเบน การตรวจวัดจะอาศัยปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารซีเรียม(IV) และโรดามีน 6 จี โดยที่เมทิลพาราเบนถูกไฮโดรไลซ์ภายใต้สภาวะกรดกลายเป็นกรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก จากนั้นกรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิกรีดิวซ์ซีเรียม(IV) กลายเป็นซีเรียม(III) ในสถานะกระตุ้นและจะถ่ายโอนพลังงานไปยังสารโรดามีน 6 จี ให้กลายเป็นสารในสถานะกระตุ้นของโรดามีน 6 จี และจะเกิดการปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินในรูปของการเรืองแสง ซึ่งถูกตรวจวัดโดยโฟโต้มัลติพายเออร์ทิวล์ (photomultiplier tube) สำหรับการทำงานของระบบ SIEMA จะอาศัยการดูดพร้อมกันของสารละลายมาตรฐานเมทิลพาราเบน สารละลายซีเรียม(IV) และสารละลายโรดามีน 6 จี ไปยังท่อพักของสารแต่ละชนิด หลังจากนั้นจึงผลักสารละลายทั้งหมดพร้อมกันเข้าสู่ตำแหน่งของตัวตรวจวัดของโฟวล์เซล ( flow cell detection) ที่ติดอยู่บนโฟโต้มัลติพายเออร์ทิวล์ เพื่อวัดการเรืองแสงจากปฏิกิริยาเคมี งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรทางกายภาพ เมื่อใช้สภาวะที่เหมาะสมของตัวแปรต่างๆ พบว่าวิธีการวิเคราะห์นี้ให้ช่วงความเป็นเส้นตรงที่ดี อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.13 ถึง 0.39 มิลลิโมลาร์ (สัมประสิทธิ์ความเป็นเส้นตรง= 0.992)  ระบบมีความเร็วในการวิเคราะห์ถึง 51 ตัวอย่างต่อชั่วโมง ซึ่งเมื่อนำวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เมทิลพาราเบนในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พบว่ามีค่าร้อยละการได้กลับคืนอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**