ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนเปรียบเทียบกับครัวเรือนรวย

นิตยา ปะอินทร์, ปรีชา วิจิตรธรรมรส

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนและครัวเรือนรวย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนและครัวเรือนรวย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครัวเรือนส่วนบุคคลในประเทศไทย จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 โดยครัวเรือนจน (กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนไม่เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20) และครัวเรือนรวย (กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 ขึ้นไป) จำนวน 17,287 ครัวเรือน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression) โดยผลจากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีทั้งปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน อัตราส่วนการเป็นภาระ สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และภาค ส่วนปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ในขณะที่ครัวเรือนรวยมีเฉพาะปัจจัยทางด้านสังคมเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนรวย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ เพศของหัวหน้าครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และภาค

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**