การมีส่วนร่วมของสตรีในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดระนอง

กนกวรรณ ทองยั่งยืน

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของสตรีในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดระนอง 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของสตรีในการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดระนอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มสตรีที่เป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอาศัยอยู่ในพื้นที่ 5 อำเภอ จังหวัดระนอง จำนวน 396 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความแตกต่างของค่าที (t-Test) และทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36–45 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีอาชีพเกษตรกร โดยมีตำแหน่งหน้าที่เป็นกลุ่มคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-15,000 บาท และส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นมากกว่า 10 ปี ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง มีระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดระนอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับผลประโยชน์ รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ด้านการตัดสินใจ

นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ อำเภอที่อาศัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดระนอง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**