พฤติกรรมและความเชื่อมั่นในการใช้ระบบ QR Code ในการชำระเงิน

วีรวัฒน์ พุ่มพยอม, อิทธิกร ขำเดช, วรวีร์ ภัทรวงศ์วิสูตร, อนุชมา ธูปแก้ว

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการชำระเงินผ่าน QR Code

2) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการชำระเงินผ่าน QR Code 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการชำระเงินผ่าน QR Code พฤติกรรมและความเชื่อมั่นในการใช้ QR Code ในการชำระเงินของผู้ที่มีบัญชีธนาคารและเคยทำธุรกรรมทางการเงินอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)

          ผลการวิจัย พบว่า ในเรื่องปัจจัยส่วนบุคคลต่อความสัมพันธ์ต่อความเชื่อมั่นในการใช้ QR Code ในการชำระเงิน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านเพศ การศึกษา และสภาพการทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในการใช้ QR Code ในการชำระเงิน แต่ปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านอายุ และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในการใช้ QR Code ในการชำระเงิน ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในการใช้ QR Code ในการชำระเงิน พบว่า เพศหญิง อายุ 21-30 ปี การศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน มากกว่า 15,000 บาท มีความเชื่อมั่นในการใช้ QR Code ในการชำระเงินสูงที่สุด

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**