การสร้างแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนบัญชีของนักศึกษาสาขาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ปัญจพร ทองเล็ก, ทิวัตถ์ มณีโชติ, ชัชสรัญ รอดยิ้ม, นัฐพงศ์ ส่งเนียม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)สร้างแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนบัญชีของนักศึกษาสาขาการบัญชี และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนบัญชีของนักศึกษาสาขาการบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนบัญชี ซึ่งเป็นแบบทดสอบ
ชนิดเลือกตอบ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและ
หน้าที่งาน ด้านทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ด้านทักษะการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและการสื่อสาร ด้านทักษะทางองค์การและการจัดการธุรกิจ ด้านทักษะทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตรวจสอบคุณภาพด้วยค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าความเที่ยงตรง ศึกษาจาก
กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขาการบัญชี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 48 คน จากจำนวนประชากร คือ นักศึกษาสาขาการบัญชีทุกชั้นปี จำนวน 320 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มอย่างมีระบบผลการวิจัยพบว่าค่าความยากของแบบทดสอบวัดความถนัด มีค่าอยู่ระหว่าง 0.22-0.77ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
วัดความถนัด มีค่าอยู่ระหว่าง 0.29-0.90ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความถนัด มีค่าอยู่ระหว่าง
0.76-0.90และค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนบัญชี โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลโครงสร้างของแบบทดสอบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ มีค่าไคส-แควร์ เท่ากับ 0.19 (p=0.70) และเมื่อพิจารณาค่าสถิติ AGFI มีค่าเท่ากับ 1.00 ค่า CFI มีค่าเท่ากับ  1.00 ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของความสอดคล้องกลมกลืน จึงสรุป
ได้ว่าแบบทดสอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**