ต้นทุนการฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ทำการเกษตรบนพื้นที่ลาดชัน อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

ณฐมน จินดา

Abstract


วัตถุประสงค์หลักในการวิจัยครั้งนี้ (1) ประมวลสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรกร ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อมาตรการการขอคืนพื้นที่ป่า และ ปัจจัยที่มีผลต่อการบุกรุกพื้นที่ป่า (2) เพื่อวิเคราะห์ความเต็มใจที่จะยอมรับการชดเชยในการเวนคืนพื้นที่โดยใช้วิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า ( Contingent Valuation Method  : CVM )วิธีคำถามเป็นลักษณะคำถามปลายปิดเสนอราคาเดียวSingle Bound Dichotomous Choice คือ มีการกำหนดมูลค่าที่จะถามว่าผู้ตอบจะเต็มใจที่จะได้รับการชดเชยภายใน 4 ราคา (Bid Price)ซึ่งสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ตัวอย่าง

จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรบนพื้นที่ลาดชันยินดีรับเงินชดเชยในการเวนคืนที่ดินทำการเกษตรเพื่อนำมาฟื้นฟูป่า โดยส่วนเกษตรกรส่วนใหญ่ยินดียอมรับเงินชดเชยที่ราคา 7,500 บาทต่อไร่ต่อปี รองลงมา คือ จำนวนเงิน 1,000  2,500 และ 750 บาทต่อไร่ต่อปี  ตามลำดับ ซึ่งวิเคราะห์มูลค่าความเต็มใจยอมรับการชดเชยเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Non-parametric Model มีค่าเท่ากับ 10,541.00บาทต่อไร่ต่อปีโดยมูลค่ารวมของความเต็มใจยอมรับการชดเชยของพื้นที่ทั้งหมด เท่ากับ 372,924,768.00บาทต่อปีและสำหรับการวิเคราะห์ความเต็มใจยอมรับการชดเชยด้วยวิธี Binary Logistic Model มีค่าเท่ากับ11,918.15 บาทต่อไร่ต่อปี โดยมูลค่าของความเต็มใจยอมรับการชดเชยของพื้นที่ทั้งหมด เท่ากับ 421,646,269.78  บาทต่อปีดังนั้น การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรป่าไม้ของพื้นที่ลาดชันซึ่งหากขาดการจัดการที่ดีจากภาครัฐจะส่งผลให้สูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลในการเข้ามาพื้นฟูสภาพป่าในอนาคตผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ประกอบการวางแผนและตัดสินใจในการดำเนินการจัดสรรงบประมาณชดเชย เมื่อมีการเวนคืนพื้นที่ทำการเกษตรจากเกษตรกรเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆของภาครัฐ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**