ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568

ชัชรีย์ บุนนาค

Abstract


ภาษาอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นภาษากลางที่ใช้สื่อความหมายไปเกือบทั่วโลก ปัจจุบัน มีคนทั่วโลกใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารมากกว่า 2,000 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรของโลก ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้ประชากรไทยได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่จะสื่อสารได้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และการประกอบอาชีพ ตลอดจนการเจรจาต่อรองสำหรับการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสังคมในเวทีสากล

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  แต่ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษก็ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในหลายๆ ปีการศึกษา ที่ผ่านมาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่ว่าจะเป็นผลสอบ O-NET หรือ GAT พบว่ามีคะแนนผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่นๆ พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษแทบจะอยู่ในระดับต่ำสุด

ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้แก่ ปัญหาด้านการเรียนการสอน ปัญหาด้านครูผู้สอน (ครูไทยและครูต่างชาติ) ปัญหาด้านการบริหารจัดการภายในหมวดภาษาต่างประเทศ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนภาษาอังกฤษ ปัญหาด้านเกณฑ์ในการประเมินทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และปัญหาด้านหลักสูตร ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแนะยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษปี 2564 – 2568 ในท้ายบทความนี้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**