การจัดการศึกษายุค 4.0 : ภายใต้การพัฒนากรอบหลักสูตรการสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา

พระทอง บุตรดี

Abstract


การจัดการศึกษาไทย 4.0 เป็นการเตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ทั้งนี้นอกจากให้ความรู้แล้ว ต้องทำให้เป็นคนที่รักที่จะเรียนรู้ มีคุณธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยสังคมพหุวัฒนธรรม นั่นก็คือการสร้างคนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก นอกจากนี้ การศึกษาไทย 4.0 จำเป็นต้องเน้นที่การคิดสร้างสรรค์ (Creative) แล้วแปรความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นผลผลิตออกมา (Product) แล้วผู้เรียนต้องรับผิดชอบมากขึ้น การศึกษาเชิงผลิตภาพและสร้างสรรค์จึงประกอบไปด้วยแนวคิด Critical, Creative, Productive และ Responsible หรือ CCPR Model ในความหมายของการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ซึ่งโมเดลดังกล่าวหมายถึงคุณลักษณะ ดังนี้ คุณลักษณะที่ 1 คือ คิดวิเคราะห์ (Critical Mind) คุณลักษณะที่ 2 คือ คิดสร้างสรรค์ (Creative Mind) คุณลักษณะที่ 3 คือ คิดผลิตภาพ (Product-Oriented, Productive Mind) เมื่อคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการแล้วควรจะทำได้ให้เห็นงานเป็นรูปธรรมขึ้น คุณลักษณะที่ 4 คือ คิดรับผิดชอบ (Responsible Mind) ทั้งนี้การนำกรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในทุกช่วงวัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และลักษณะนิสัยของการเป็นพลเมืองดีตามแนวพระพุทธศาสนาและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในยุคโลกาภิวัตน์และสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติ ตามแนวทางการจัดการศึกษาไทย 4.0

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดการศึกษายุค 4.0 ภายใต้การพัฒนากรอบหลักสูตรการสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยเนื้อหา แนวทางการจัดการศึกษา 4.0 ความหมายของการจัดการศึกษา 4.0 ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษา 4.0 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ตามกรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับการสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**