การศึกษาประสิทธิภาพของคราบเลือดและคราบผลิตภัณฑ์อื่นบนเสื้อผ้าสีเข้มโดยวิธีทางอินฟราเรด

ณัฐธยาน์ ภมรรัตนกุล, ณิช วงศ์ส่องจ้า, ณรงค์ กุลนิเทศ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของคราบเลือดและคราบผลิตภัณฑ์อื่นบนเสื้อผ้าสีเข้มโดยวิธีทางอินฟราเรด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้เลือดและผลิตภัณฑ์อื่นที่มี
สีแดงคล้ายเลือดรวมทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ เลือดสด เลือดที่เจือจางให้มีความเข้มข้น 1:5 1:10 1:100
ซอสมะเขือเทศ และน้ำมะเขือเทศ ตามลำดับ หยดลงบนเศษผ้าสีเข้มทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าพอลิเอสเทอร์ ผ้ายีนส์ และผ้าสแปนเด็กซ์ ตามลำดับ โดยมีน้ำกลั่นเป็นชุดควบคุมลบ ทำการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพดัดแปลงอินฟราเรด หลังจากนั้นให้อาสาสมัครจำนวน 2 คนนับจำนวนจุดที่เห็นจากภาพถ่ายที่ได้
โดยกำหนดให้เกณฑ์รอยคราบเลือดและคราบผลิตภัณฑ์อื่นที่ปรากฏบนผ้านั้น ต้องเห็นเป็นวงที่มีสีแตกต่างกับสีของผ้าได้อย่างชัดเจนเท่านั้น พบว่า เมื่อเปรียบเทียบในแง่ของสาร คราบเลือดสดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด รองลงมาเป็น ซอสมะเขือเทศ เลือดความเข้มข้น 1:5 น้ำมะเขือเทศ เลือดความเข้มข้น 1:10 และ 1:100 ตามลำดับ และในแง่ของชนิดผ้า ผ้าที่ทำให้สามารถมองเห็นคราบเลือดและคราบผลิตภัณฑ์อื่นได้ชัดเจนที่สุดคือ ผ้าฝ้าย ผ้าสแปนเด็กซ์ ผ้ายีนส์ และผ้าพอลิเอสเทอร์ ตามลำดับ ดังนั้น การตรวจหาคราบเลือดหรือคราบผลิตภัณฑ์อื่นบนผ้าสีเข้มด้วยวิธีทางอินฟราเรดโดยใช้การถ่ายภาพ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดกลืนแสงที่อยู่ในช่วงอินฟราเรดของสาร คุณสมบัติการดูดซับของเหลวและความหนาของเส้นใยของผ้า โดยสารที่สามารถดูดกลืนแสงที่อยู่ในช่วงอินฟราเรดได้ดีบนผ้าที่สามารถดูดซับของเหลวได้ดี และมีเส้นใยไม่หนามาก จะทำให้ตรวจหาคราบด้วยวิธีทางอินฟราเรดได้ง่าย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**