ภาพลักษณ์ผู้สื่อข่าวที่ถูกสะท้อนบทบาทผ่านภาพยนตร์ไทย

ทัศนัย โคตรทอง, องอาจ สิงห์ลำพอง

Abstract


งานวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของผู้สื่อข่าวที่ถูกนำมาสะท้อนบทบาทผ่านภาพยนตร์ไทย  และศึกษาการเล่าเรื่องภาพยนตร์ไทยที่มีบทบาทของผู้สื่อข่าวอยู่ในเนื้อเรื่องที่ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยแบ่งช่วงของการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง คือ ตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเมือง และมีการชุมนุมครั้งใหญ่เดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2553  ถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นช่วงก่อนการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และช่วงปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2560 เป็นช่วงหลังการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. โดยคัดเลือกภาพยนตร์ไทยกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาได้ทั้งหมด 6 เรื่อง นำมาศึกษาด้วยการดูภาพยนตร์ทั้งหมดทีละเรื่อง และทำการวิเคราะห์ตามแนวคิดและทฤษฎีการเล่าเรื่องร่วมกับแนวคิดภาพลักษณ์ บทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน รวมทั้งการสร้างความหมายทางสังคม พบว่า ภาพลักษณ์ของผู้สื่อข่าวในช่วงก่อน คสช.เข้ามาบริหารประเทศเป็นภาพลักษณ์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีบทบาทหน้าที่เสนอข้อมูลตามข้อเท็จจริงในสังคมและเสนอความคิดเห็นของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ไม่เกรงกลัวต่ออำนาจ หรืออิทธิพลใด ๆ และช่วงหลังการเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. พบว่าภาพลักษณ์ของผู้สื่อข่าวเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบที่ถูกจำลองหรือสร้างขึ้นมา  เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างโดยยังจำเป็นที่ต้องมีความน่าเชื่อถืออยู่บ้าง  แต่บทบาทหน้าที่ถูกลดทอนลงเหลือเพียงผู้ให้ความบันเทิงเท่านั้น โดยต้องทำหน้าที่ให้เป็นไปตามกระแสสังคมและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นสังคมในโซเชียลมีเดียมากขึ้น และทุกคนสามารถเป็นผู้สื่อข่าวได้ ทำให้บุคคลในอาชีพผู้สื่อข่าว  และวงการสื่อสารมวลชนต้องปรับตัวให้สอด คล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**