กรอบแนวคิดในการออกแบบระบบการเรียนการสอนผ่านอิเลิร์นนิ่งแบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางพหุปัญญา

ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดในการออกแบบระบบการเรียนการสอนผ่านอิเลิร์นนิ่งแบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางพหุปัญญา เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาอีเลิร์นนิ่ง ในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาราชภัฏพระนคร โดยใช้กระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิ่ง ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือและด้านพหุปัญญา จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนการสอนผ่านอิเลิร์นนิ่งแบบร่วมมือสำหรับนักศึุกษาที่มีความแตกต่างทางพหุปัญญา ได้ชื่อว่า e-ColMi Model ประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ (Objective) 2) ผู็สอน (Teacher Module) 3) ระบบช่วยเหลือผู้สอน (Assist Tool Module) 4) การจัดกลุ่มนักศึกษา (MI Gropuing Module) 5) ระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning Module) 6) การเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางพหุปัญญา (Collaborative Learning & MI Activities Module) 7) การประเมินและรายงานผล (Assessment Module) ผลการประเมินระบบการเรียนการสอน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้การยอมรับระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นค้นแบบในการพัฒนาอีเลิร์นนิ่งแบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางพหุปัญญาต่อไป

Full Text:

PDF

References


นงนภัส อภิรมย์ชวาล. (2550). ผลการใช้สื่อประสมตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อเตรียมความพร้อมในการ่อานออกเสียงพยัชนะไทยของนักเรียนอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ปราโมทย์ ตงฉิน. (2554). กรอบแนวคิดรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บที่มีการสนับสนุนตามแนวทางพหุปัญญาโดยใช้การประเมินผลแบบ CIPP. กรุงเทพฯ: The 7th National Conference on Computing and Information Technology.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยตอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แดเน็กซ์ อินเตอร์คอบเปอเรชั่น จำกัด.

ศักดิ์ชาย ตั่งวรรณวิทย์. (2552). รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมแบบอีเลิร์นนิ่งกับพัฒนาการของผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางพหุปัญญา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมัย ขจรโมทย์. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยโดยบูรณาการทฤษฎีพหุปัญญาสำหนับนักศึกษาชั่นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมนิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถสูงตามทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง