การทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษากรณีหมู่บ้านเกษตรกรก้าวหน้า หมู่ที่ 14 ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

บางเดี่ยว กันทิสา

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเกษตรกรก้าวหน้าหมู่ที่ 14 ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 2) เพื่อหาข้อสรุปการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเกษตรกรก้าวหน้าหมู่ที่  14 ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกในหมู่บ้านเกษตรกรก้าวหน้าในระดับครัวเรือน จำนวน 10 ครัวเรือน ผู้บริหารกลุ่มกิจกรรมและวิสาหกิจชุมชน จาก 5 กลุ่ม จำนวน 5 คน ผู้นำชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน ข้าราชการองค์กรส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์และการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการทำเกษตรแบบผสมผสาร มีความสอดคล้องกับทฤษฎีใหม่ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและอาชีพเกษตรกรรมนอกจากเป็นการเลี้ยงชีพแล้วยังเป็นส่วนหนึ่งวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้านแนวคิดในการดำเนินชีวิตของเกษตรกรนั้นสอดคล้องกับแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกันคือ มีการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล และภูมิคุ้มกันในตัวเอง ในขณะเดียวกันปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ ความเพียร อดทน ที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ ปัญหาสภาพของดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน และภัยธรรมชาติต่าง ๆ

Keywords


การเกษตรแบบผสมผสาน; ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Full Text:

PDF

References


สัมพันธ์ เดชะอธิก และคณะ. (2538). รายงานผลการวิจัย บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนในการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงาน กปร. (2548). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ.

สำนักงาน กปร. (2550). ทฤษฎีใหม่ ชีวิตที่พอเพียง. 60 ปีครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทำเนียบรัฐบาล

สุวรรณา อุยานันท์. (2542). คัมภีร์มืออาชีพ ไร่นาส่วนผสม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง